Rejoice Philophiles! Phoebe is back

Haute Couture Fashion Week สำหรับฤดูกาล Fall/Winter 2021 พึ่งเสร็จสิ้นไปหมาดๆในมหานครปารีส ที่ซึ่งการจัดแฟชั่นโชว์แบบ In-Person พร้อมเก้าอี้และแขกเหรื่อมากหน้าหลายตาเริ่มกลับมาเป็น Norm ของวงการแฟชั่นอีกครั้งภายหลังจากสองสามซีซั่นที่ผ่านมาถูกบังคับด้วยสถานการณ์ให้เปลี่ยนไปเป็น Digital Show และ Look Book Presentation แทน จากเหตุผลที่เราทุกคนไม่น่าจะต้องการการย้ำเตือนอีกแล้วในเวลานี้ ดูเหมือนว่าอุตสาหกรรมแฟชั่นโดยรวมในฝั่งตะวันตกกำลังอยู่ในขาขึ้นของกราฟที่ค่อยๆก้าวกลับไปอยู่ในระดับปกติเสียทีภายหลังจากช่วงเวลาปีกว่าที่ทำให้ทุกอย่างซบเซาและเงียบงันลงไปถนัดตา และในเวลานี้ข่าวใหญ่จากอีกมหานครแฟชั่นส่งตรงจากกรุงลอนดอนก็กำลังช่วยให้กราฟที่ว่าขยับสูงขึ้นไปอีกขั้นเพราะ Phoebe Philo ดีไซเนอร์ที่พวกเรารักและเคารพ กำลังอยู่ระหว่างการก่อร่างสร้างห้องเสื้อของตัวเองขึ้นมา!

นับว่าเป็นข่าวใหญ่ที่ทำให้ใครหลายๆคนในแวดวงแฟชั่นตื่นเต้นและนั่งอยู่กับที่ไม่ติดเป็นแน่ นักออกแบบแห่งทศวรรษ 2010’s ที่ครั้งหนึ่งเคยปฏิวัติเครื่องแต่งกายให้แก่ผู้หญิงทั่วทั้งโลกผ่านงานออกแบบที่ Céline ตั้งแต่ปี 2008 ถึงปี 2017 (aka; The Old Céline ในสมัยที่ตัว e ยังมี accent) วันนี้กำลังหวนคืนสู่อุตสาหกรรมแฟชั่นอีกครั้ง ไม่ใช่ที่ Chanel ไม่ใช่ที่ Alaïa ไม่ใช่ที่ Burberry แบบที่ใครหลายๆคนเคยกล่าวลือหรือ Speculated ไว้ แต่ที่ห้องเสื้อของเธอในนามของเธอเองต่างหาก พร้อมการสนับสนุนและถือหุ้นจำนวนหนึ่งโดยเครือ LVMH ของ Bernard Arnault เจ้านายเก่าของ Phoebe จากที่ Céline (ส่งผลให้แบรนด์ Phoebe Philo ตามไปอยู่ในระดับเดียวกับ Stella McCartney, J.W. Anderson, และ Fenty โดย Rihanna ที่ LVMH ไปมีส่วนถือครอง Stake ของ Company ร่วมด้วย)

ยังไม่มีใครทราบว่าหน้าตาสินค้าทั้งเสื้อผ้าและ Accessories ไปจนถึงดีเอนเอของห้องเสื้อ ‘Phoebe Philo’ ที่เริ่มใหม่จากศูนย์จะเป็นไปในทิศทางไหน? จะออกมาสอดคล้องและต่อเนื่องจากวิสัยทัศน์และงานออกแบบอันเป็นที่รักของเธอที่ Céline หรือไม่? หรือเป็นภาพลักษณ์และสไตล์ที่ Phoebe รังสรรค์ขึ้นใหม่แบบที่พวกเรายังไม่เคยเห็นมาก่อน? จะมีการนำเสนอทั้งคอลเลคชั่นเครื่องแต่งกายผู้หญิง? หรือทั้งหญิงและชาย? หรือออกมาเป็นเครื่องแต่งกาย Genderless/Unisex? หรืออิงเอาแนวคิด Sustainability มาใช้แบบที่กำลังเป็นระบบความคิดใหม่ของอุตสาหกรรมแฟชั่นรึเปล่า? ตอนนี้เชื่อว่าทุกคนคงเต็มไปด้วยคำถามเช่นเดียวกับผู้เขียน ซึ่ง Phoebe จะมีคำตอบและรายละเอียดเพิ่มเติมให้พวกเราก็ในเดือนมกราคมต้นปีหน้านู้นเลย สิ่งที่เราทำได้ตอนนี้ก็เพียงแต่ตั้งคำถามและคาดเดากันต่อไปเท่านั้น เบาะแสเดียวจาก Press Release ที่ให้ไว้ถึงคำอธิบายของตัวแบรนด์ก็เพียงแค่ว่า เครื่องแต่งกายและ Accessories ที่เราจะได้รับชมกันต่อไปนั้น “…rooted in exceptional quality and design.” (หรือคอนเฟิร์มและแปลง่ายๆได้เลยว่าการตั้งราคานั้นไม่เบามืออย่างแน่นอน)

แม้ว่า Phoebe Philo จะห่างหายไปจากโลกแฟชั่นเป็นเวลาเพียงแค่ 4 ปี นับตั้งแต่การบอกลาตำแหน่ง Creative Director ที่ Céline เมื่อปี 2017 แต่ระยะเวลา 4 ปีที่ว่าในโลกแฟชั่นศตวรรษที่ 21 ยาวนานกว่านั้นมากหลายเท่าตัว โดยเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนอย่าง Fast-Paced ในทุกๆมิติ ด้วยปัจจัยและผลพวงจากกระแสนิยมที่ผุดขึ้นและดับไปตามความเร็วของอินเทอร์เน็ตและ Social Media ไปจนถึงปริมาณคอลเลคชั่นของสินค้าต่อปีที่แบรนด์น้อยใหญ่ผลิตออกมาจนล้นตลาด (คำณวนคิดเลขแบบง่ายๆ; 4 ปีนั้นเทียบเท่ากับ 8 Seasons ในโลกแฟชั่นหากเรานับแค่ Spring/Summer และ Fall/Winter ส่วนถ้าหยิบเอาคอลเลคชั่น Pre-Fall และ Resort มาคำณวนด้วยล่ะก็ 4 ปีจะเท่ากับ 16 Seasons เลยทีเดียว) ท่านที่รู้จักมักจี่กับลักษณะการทำงานของ Phoebe Philo มาก่อนน่าจะทราบกันดีว่านักออกแบบ Pioneer ท่านนี้คงไม่ทำอะไรตามเทรนด์และ Conform ไปกับระบบที่เกินพิกัดและฟุ่มเฟือยดังกล่าวเป็นอย่างแน่ —ท่ามกลาง Landscape ของตลาดในขณะนี้ที่แบรนด์แฟชั่นจำนวนมากทั้ง High End และ Mass Production ต่างพยายามคว้าโอกาสทำเงินจากเทรนด์ จากอินฟลูเอนเซอร์ และจาก Internet Culture (especially Instagram & TikTok) ซึ่งมีแต่จะเติมเชื้อไฟให้ Fast Fashion ยังคงหมุนเวียนและกัดกินทรัพยากรต่อไปเรื่อยๆ— เราน่าจะมั่นใจได้ว่า ดีไซเนอร์เจเนเรชั่น X คนนี้คงเลือกสวนกระแสวัฒนธรรมของเจเนเรชั่น Z และกลับมาเป็นผู้นำที่กรุยทางเดินของตัวเองเพื่อตัวเองอย่างแน่นอน —ของแถมที่เราอาจจะได้ติดมาจากการกลับมาเป็นผู้สร้าง Timeline ใหม่ที่มี Pacing เป็นของตัวเองของ Phoebe ครานี้ อาจจะเป็นการผลักดันและส่งเสริมให้อุตสาหกรรมแฟชั่นได้ชะลอตัวและหันมาดำเนินกิจการแบบ Slow Fashion กันเสียทีก็ได้ (Fingers crossed.)

อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจของการกลับมาของ Phoebe Philo ก็คงจะเป็นการทวงพื้นที่ในตลาดและฐานเสียงของเธอคืนจากดีไซเนอร์หลายๆคนที่ถือโอกาสเติมเต็มช่องว่างและรับช่วงต่อสปอตไลท์ที่เธอเหลือไว้ นับได้ตั้งแต่ Mentees ผู้เคยอยู่ในเงาของ Phoebe มาก่อนจากการทำงานภายใต้เธอที่ Céline; ไม่ว่าจะเป็น Peter Do, Bottega Veneta โดย Daniel Lee, และ Rok Hwang เจ้าของแบรนด์ rokh ไปจนถึงนักออกแบบและแบรนด์สไตล์มินิมัลลิสม์ท่านอื่นๆ; The Row โดย Ashley & Mary-Kate Olsen, Victoria Beckham, Stella McCartney, ไปจนถึง Lucie และ Luke Meier ซึ่ง ณ ขณะนี้ประจำการอยู่ที่ Jil Sander แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นภายใต้การรีสตาร์ทเครื่องของโลกแฟชั่นยุค Post-Pandemic Recession แบรนด์ Phoebe Philo โดย Phoebe Philo น่าจะนับว่าเป็นแบรนด์ใหม่ที่น่าจับตามองมากที่สุดแล้วก็ว่าได้ การเริ่มต้นก้าวแรกท่ามกลางช่วงเวลาที่หลายๆคนถูกบังคับให้ก้าวถอยหลังด้วยสถานการณ์รอบตัวที่ไม่เอื้ออำนวยคงนับเป็นสิ่งที่ท้าทายที่สุดไม่ว่าจะกับใครก็ตาม แต่ถ้าจะมีใครสามารถฟันผ่าอุปสรรคนี้ได้เราก็มั่นใจได้เลยว่าหนึ่งในนั้นคือ Phoebe Philo อย่างแน่นอน

(Our) Nightmare That Just Became Reality

It’s Official! ข่าวลือหนาหูเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง Calvin Klein และ Raf Simons ที่ว่าจะสิ้นสุดลงนั้นได้กลายเป็นความจริงเสียแล้วเมื่อช่วงปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ห้องทดลองผ่านเลนส์ของคนนอกต่อวัฒนธรรมอเมริกันและป๊อบคัลเจอร์แห่งนี้ได้ปิดทำการลงเสียแล้ว บทความนี้จึงขอทำหน้าที่เป็นผู้ขยายความ ตามหาต้นเหตุ ทำนายอนาคต รวมไปถึงส่งข้อความบอกลาทิ้งท้ายอีกหนึ่งช่วงที่น่าจดจำของดีไซน์เนอร์แห่งยุคอย่าง Raf Simons

ข่าวลือที่ว่ามีจุดเริ่มต้นขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนเมื่อ Emanuel Chirico ประธาน PVH Group ผู้ถือครองแบรนด์ Calvin Klein (และแบรนด์อเมริกันชื่อดังอย่าง Tommy Hilfiger) ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับตัวเลขยอดขายที่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของเม็ดเงินที่ลงทุนกับไลน์สินค้า Calvin Klein 205W39NYC ซึ่ง Simons นั่งเก้าอี้คุมตำแหน่งนี้มาเกือบสองปี (นอกจากนั้นข่าวลือนี้ยังมีแนวโน้มจะกลายเป็นข่าวหน้าหนึ่งมากยิ่งขึ้นเมื่อ Strategy การ PR ของแบรนด์เริ่มละทิ้งผลงานของ Simons เห็นได้ชัดจากอินสตาแกรมของแบรนด์ที่แทบไม่เห็นแม้แต่เงาของเขาเลยแม้แต่นิดในช่วงหลัง ไม่แม้กระทั้งภาพแคมเปญ เสมือนกับเป็นสัญญาณของระเบิดเวลารอวันที่จะทำงาน)…แต่เราจะยกเอาความผิดไปลงที่ Raf ผู้เดียวได้หรือ?

สองปีก่อนหน้า PVH เล็งเห็นถึงความสำคัญของความครีเอทีฟจากสถานการณ์รอบข้างของแบรนด์อเมริกันสายเฮอริเทจเช่น Ralph Lauren ที่ยังคงติดอยู่กับที่ด้วยสินค้าที่มิได้นำเสนอความแปลกใหม่นัก และในขณะเดียวกันกับตราสินค้าเครื่องหนังอิตาเลียนอย่าง Gucci ซึ่งขายดีเป็นเทน้ำเทท่าเมื่อได้รับการชุบชีวิตจากความตาย (Literally) ผ่านความคิดสร้างสรรค์นี้เอง   นั่นจึงทำให้การส่งมอบเรือทั้งลำให้กัปตันคนใหม่จากอีกฟากโลกผู้เลื่องชื่อในด้านแนวคิดและไอเดียด้วยความหวังจะแล่นไปในทางเดินเรือแห่งความสำเร็จตาม Gucci แลดูเป็นคำตอบที่เป็นเหตุเป็นผลมากที่สุดสำหรับ PVH ณ ขณะนั้น หากแต่ผลลัพท์ที่ได้หลังเวลาผ่านไป คำตอบของการว่าจ้างกัปตันคนใหม่ผู้ขับเคลื่อนด้วยวิสัยทัศน์ที่แตกต่างไปจากเจ้าของเรืออย่างสิ้นเชิงจึงปรากฏขึ้นอย่างชัดเจน เรือลำนี้มิได้เทียบท่าขึ้นฝั่งเดียวกันกับ Gucci แต่กลับมุ่งหน้าออกนอกเส้นทางผิดจากที่คาดไว้ก่อนจะถอนสมอเรือไปไกลคนละทิศ   ความชำนาญและความสามารถของ Raf Simons อาจจะ Overqualified และ Niche เกินไปสำหรับบริบทของแบรนด์มินิมัลลิสต์เชื้อสายอเมริกันที่ฉาบหน้าร้านด้วยผลิตภัณฑ์ชุดชั้นในและแคมเปญโฆษณาอันอื้อฉาว ที่ซึ่งมิได้ต้องการสิ่งใดมากไปกว่าความสำเร็จด้านการขายระดับแมสและผลลัพท์ด้านธุรกิจที่ใช้เกณฑ์วัดเป็นตัวเลขเม็ดเงินในแต่ละไตรมาส (ว่าอย่างง่ายได้ว่าเสื้อผ้าของ Simons นั้น Too Cool และ Too Conceptual เกินกว่าจะทำเงิน)

แม้จะไม่ได้เทียบท่าเหมือนกัปตัน Alessandro Michele ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า Calvin Klein พร้อมชื่อห้อยท้าย 205W39NYC ก้าวขึ้นมามีบทบาทบนปฏิทินแฟชั่นอีกครั้ง และนับได้ว่าโชว์ของ Simons เป็นที่ตั้งตารอคอยและถูกพูดถึงมากที่สุดใน New York Fashion Week ตั้งแต่โชว์แรกในฤดู Fall – Winter 2017 เป็นต้นมา (รวมทั้งผู้เขียนและบล็อกของเราเองที่ติดตามวิเคราะห์คอลเลคชั่น 205W39NYC เรื่อยมาเป็นประจำ) ไหนจะแนวคิดทั้งรูปธรรมและนามธรรมที่ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของเครื่องแต่งกายได้อย่างชาญฉลาดจากการสังเกตการสถานการณ์การเมือง สัญญะ วัตถุ สังคมและวัฒนธรรมอเมริกันต่างๆ จนถึงพฤติกรรม ความรู้สึกนึกคิด ความกลัว ความวิตกกังวล ความฝัน และความหวังของเหล่าอเมริกันชน แต่สุดท้าย at the end of the day… แฟชั่นก็คือธุรกิจ และเมื่อธุรกิจไม่เกิดกำไร การเปลี่ยนแปลงย่อมต้องเกิดขึ้น นี่คือกฏตายตัวของอุตสาหกรรมนี้ที่เอาชนะคุณค่าทางจิตใจและคุณค่าทางความงามได้เสมอไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม

นับว่าน่าเศร้าไม่เบาสำหรับผู้ติดตาม กับการจากลาตำแหน่งล่วงหน้าก่อนหมดสัญญาถึงหกเดือนของ Raf Simons ผู้ซึ่งขณะอยู่ในหน้าที่ภายในช่วงเวลาอันสั้น ได้รับรางวัลจาก CFDA ถึงสามรางวัล อีกทั้ง Milestone อื่นๆ จากการร่วม Collaborate กับ The Andy Warhol Foundation และศิลปิน Sterling Ruby ขาประจำของ Simons, เสนอชื่อเซเลบริตีอย่าง Paris Jackson และ Millie Bobby Brown ขึ้นเป็นโฉมหน้าของแบรนด์, และการ Recruit เอาบ้าน Kardashians – Jenners มาร่วมถ่ายแคมเปญที่ถูกพูดถึงในวงกว้าง   ส่วนสำหรับผู้เขียน นี่คงเป็นอีกครั้งที่ความคิดสร้างสรรค์และคุณค่าในแง่สุนทรีฯ พ่ายแพ้ให้แก่ธุรกิจและคุณค่าทางเศรษฐศาสตร์ไปอย่างน่าเศร้า กรอบที่มีชื่อว่าเงินยังคงทำหน้าที่เป็นตัวจำกัดอิสระในด้านความสามารถของดีไซน์เนอร์ไม่ให้ไปถึงขีดสูงสุดต่อไป…


สำหรับ Calvin Klein ฤดูกาลหน้าที่จะถึงจะยังไม่มีการโชว์รันเวย์บนแฟชั่นวี้ค และยังไม่มีการประกาศชื่อผู้รับช่วงต่อคนใหม่ ในขณะเดียวกัน บทต่อไปของกัปตันอัจฉริยะนาม Raf Simons จะไปดำเนินต่อที่ใด ผู้ที่ได้เปลี่ยนลำจาก Jil Sanders, Christian Dior, มาจนถึง Calvin Klein ใครหลายคนหวังให้เป็นอีกห้องเสื้ออันเป็นที่รักที่เราได้บอกลาผู้นำไปอย่าง Céline แต่คงไม่น่าเป็นไปได้เพราะ “Celine” อันไร้ซึ่งอักซอง พึ่งได้คนเดินเรือคนใหม่ไปหมาดๆ ส่วนถ้าถามความเห็นของผู้เขียน เรือร้างอย่าง Lanvin ซึ่งตกระกำลำบากมาตั้งแต่ Alber Elbaz ออกเมื่อสามปีที่แล้วยังคงต้องการความช่วยเหลือจากใครสักคนอยู่ หรือมิเช่นนั้น เหล่าแบรนด์ระดับแนวหน้าที่คนในวงการร่ำลือกันว่าจะปลดประจำการตำแหน่งผู้คุมปัจจุบันลงในเร็ววันอย่างเช่น Chanel (Karl Lagerfeld), Maison Margiela (John Galliano), Louis Vuitton (Nicholas Ghesquiere) หรือ Balenciaga (Demna Gvasalia) ก็ล้วนน่าสนใจไม่น้อย — แต่ไม่ว่าที่ใด เชื่อได้เลยว่า Raf Simons จะรับทำหน้าที่ได้อย่างสุดความสามารถได้อย่างแน่นอน


(อ่านบทวิเคราะห์คอลเลคชั่นของ Raf Simons ที่ Calvin Klein ซีซั่นที่ผ่านมาได้ด้านล่างนี้)

State of American Fashion: As Observed Through These Eyes (Spring – Summer 2019)

Raf’s Hopeful Dystopia (Fall – Winter 2018)

Sweet Dreams (Are Made of These) (Spring – Summer 2018)

State of American Fashion: As Observed Through These Eyes

ขณะที่วาระสำคัญของชาวอเมริกันกับช่วง Midterm Election ที่ได้สิ้นสุดลงไม่นานมานี้ (ต้องขอแสดงความยินดีด้วยกับพรรคเดโมแครตที่ได้ชัยชนะจำนวนเก้าอี้ใน House)  ภายหลังเกือบสองปีเต็มใต้ร่มเงาบทบาทประธานาธิบดีของโดนัลด์ ทรัมป์ ที่เรียกได้ว่าเปลี่ยนโฉมความหมายความเข้าใจของคำว่าอเมริกันเปลี่ยนไปมากทีเดียวจากมุมมองของทั้งชาวโลกและอเมริกันชนเอง ไหนจะเหตุการณ์ชุมนุมฝ่ายขวาและกลุ่มชาตินิยมหัวรุนแรงครั้งสำคัญ ชาร์ลอทสวิลล์ ที่รัฐเวอร์จิเนียเมื่อปีก่อน ซึ่งก่อฟืนและจุดชนวนประเด็นด้านเชื้อชาติและสีผิวให้กลับมาร้อนระอุอีกครั้ง, ความรุนแรงของอาวุธปืนและเหตุการณ์กราดยิงอันน่าเศร้าที่ล่าสุดเกิดขึ้นในธรรมศาลายิวที่พิตต์สเบิร์ก, การกวาดล้างและควบคุมแรงงานต่างด้าวผิดกฏหมายอย่างไม่เป็นธรรมและความเข้มงวดของกองตรวจคนเข้าเมือง, ไปจนถึงการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ของคติแนวคิดสตรีนิยม (Feminism) ร่วมสมัยคลื่นลูกที่สี่พร้อมกับการเคลื่อนไหวของโซเชียลมีเดียผ่านแฮชแท็ก #MeToo และ #TimesUp เหตุการณ์และประเด็นทางวัฒนธรรมเหล่านี้ต่างนำมาซึ่งการตั้งแง่มุมและคำถามมากมายต่อคุณค่าและอัตลักษณ์ที่แท้จริงของชาติมหาอำนาจ ดินแดนผู้เป็นเจ้าของฉายา ‘Land of the Free’ และ ‘Home of the Brave’ แห่งนี้

ก่อนผู้อ่านจะเข้าใจผิดและคิดว่านี่ใช่บล็อกเกี่ยวกับแฟชั่นจริงหรือไม่ ขอหยุดกับการสาธยายสถานการณ์การเมืองไว้เพียงเท่านี้ แต่แน่นอนว่าสภาวะและสถานะของบ้านเมืองนั้นย่อมส่งผลโดยตรงต่ออุตสาหกรรมแฟชั่นอยู่เสมอ ดังเช่นตลอดมาในประวัติศาสตร์แฟชั่นนับร้อยๆ ปี ปัจจุบันนี้ก็เช่นกัน เมื่อสถานการณ์ทางสังคมและการเมืองอเมริกันส่งผลให้คนในชาติไม่ว่าจะ รีพับลิกัน หรือ เดโมแครต ต่างตั้งคำถามต่อความหมายของอัตลักษณ์ความเป็นชาติของตน ดีไซน์เนอร์และแบรนด์แฟชั่นอเมริกันเองต่างก็เกิดข้อสงสัยและความต้องการค้นหาถึงนิยามที่แท้จริงของ American Fashion ไปพร้อมๆกัน ผู้เขียนได้เล็งเห็นถึงสาระสำคัญองค์รวมที่ว่าด้วยการตั้งคำถามและออกความคิดเห็น ผ่านมุมมองที่แตกต่างกันจากปัจจัยและภูมิหลังที่หลากหลายของตัวดีไซน์เนอร์เอง บทความนี้จึงขอหยิบยกสามคอลเลคชั่นเด่นโดยสี่ดีไซน์เนอร์จาก New York Fashion Week ที่พึ่งผ่านมาครั้งล่าสุดในฤดูกาล Spring-Summer ปี 2019 เพื่อนำเสนอทัศนวิสัยต่อสถานะปัจจุบันของ American Fashion จากสามมุมมอง อันได้แก่ มุมมองของคนนอกโดย Raf Simons ที่ Calvin Klein, มุมมองจากคนใน ผ่านคอลเลคชั่นจาก Matthew Adams Dolan, และมุมมองของคนที่เดินทางกลับบ้านอีกครั้ง จาก Proenza Schouler โดย Lazaro Hernandez และ Jack McCollough


 

The Age of Anxiety

ถ้ายังจำกันได้ เราได้ร่วมกัน Decode คอลเลคชั่นของ Calvin Klein ภายใต้ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ของ Raf Simons ก่อนหน้านี้ถึงสองคอลเลคชั่น จากทั้งฤดูกาล Spring-Summer ปี 2018 และฤดูกาล Fall-Winter ปี 2018/2019 ซึ่งสำหรับในครั้งนี้ Raf Simons กับบทบาทของเขาในฐานะของคนนอกก็ยังคงเด่นชัดและอาจนับได้ว่าตรงไปตรงมามากกว่าที่เคย ดีไซน์เนอร์ผู้ไม่เคยหยุดสร้างความประหลาดใจและยังคงตอกย้ำถึงความคิดสร้างสรรค์อันเฉพาะตัวของเขาให้พวกเราได้รับชมไม่ว่าจะก้าวขึ้นรับบทบาทหน้าที่ที่ใด ทั้ง ณ Jil Sander (2005 – 2012), Christian Dior (2012 – 2015), และปัจจุบันที่ Calvin Klein (2016 – ) ยังไม่นับที่แบรนด์เครื่องแต่งกายบุรุษในนามของเขาเองซึ่งวันนี้มีอายุมากกว่าสองทศวรรษเข้าให้  Simons ยังคงถูกเชิดชูและครองตำแหน่งหนึ่งในนักออกแบบแฟชั่นที่มีความสามารถและชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งผู้มีส่วนอุทิศและผลิกโฉมการแต่งกายของผู้บริโภคสินค้าแฟชั่นทั้งชายและหญิงในยุคร่วมสมัยนี้ ดีไซน์เนอร์ชาวเบลเยียมผู้เป็นคนนอกเมื่อก้าวข้ามมหาสมุทรแอทแลนติคเข้ามานั่งเก้าอี้สูงสุดในบ้านแห่งใหม่ที่ Calvin Klein จึงเป็นหนึ่งใน Candidate คนสำคัญที่แสดงให้เราเห็นถึงแนวคิดที่เขามีต่อสถานะและภาวะปัจจุบันของ American Fashion ซึ่งสองฤดูกาลที่ผ่านมา เราได้ชมการถ่ายทอด American Pop Culture บนรันเวย์ภายใต้สาระสำคัญที่ว่าด้วย American Horror, American Dream, และ American Hopes & Heroes มาวันนี้ หัวข้อถัดมาที่ถูกหยิบยกมาใช้เป็นใจความหลักของคอลเลคชั่นก็คือ American Fear

หากจะให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ความกลัวในที่นี้ของ Raf หลบซ่อนแฝงอยู่ภายใต้ความสวยงามที่หลอกให้เราตายใจ ความกลัวในรูปแบบของสิ่งที่เรามองไม่เห็นจากเพียงแค่เปลือกนอก ความกลัวที่ยังไม่มาถึงแต่พร้อมปรากฏขึ้นทันทีที่เราไม่ทันระวัง ซึ่งอะไรเล่าจะแสดงให้เราเห็นถึงภาพและความรู้สึกวิตกกังวลลึกลงในใจนี้ได้ดีไปกว่าสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลอย่าง ‘ฉลาม’ ที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เป็นหนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่หยั่งรากลึกฝังลงไปใน American Pop Culture มาตั้งแต่ไหนแต่ไร แค่เพียงภาพยนตร์ที่มี Theme หลักเป็นฉลามนั้นก็มากพอที่จะจัดให้เป็นอีก Genre หนึ่งเลยก็ได้ ไหนจะภาพยนตร์ภาพสวยเกี่ยวกับหญิงสาวซึ่งรับบทโดย Blake Lively ที่ต้องต่อสู้กับฉลามตัวคนเดียวตลอดทั้งเรื่องใน The Shallows (2016), ภาพยนตร์เขย่าขวัญสร้างจากเรื่องจริงอย่าง Open Water (2003) และภาคต่อ Open Water 2: Adrift (2006) ที่ทำให้ใครหลายๆคนกลัวการเข้าใกล้มหาสมุทรไปนาน, หรือกระทั่งภาพยนตร์โทรทัศน์สุดคัลท์ในชุด Sharknado ที่ชวนหัวร่อกับบทน่าขันและตรรกะไร้เหตุผล แต่ความหลากหลายของเหล่าฉลามในภาพยนตร์มักถูกนำเสนอออกมาในรูปแบบที่ล้วนแล้วมีเนื้อเรื่องคล้ายคลึงกัน โดยเริ่มต้นด้วยการพักผ่อนหย่อนใจของตัวละครเอกริมชายหาดงามที่ทอดยาวไม่มีที่สิ้นสุด หรือล่องไปในท้องทะเลกว้างไม่รู้จบ ก่อนที่ความสวยงามของวันหยุดจะกลายเป็นฝันร้ายของทั้งตัวละครและผู้ชมที่อดไม่ได้ที่จะเกรงกลัวและกังวลถึงสิ่งมีชีวิตดุร้ายใต้ท้องทะเลชนิดนี้ (แม้ว่าความจริงแล้วในธรรมชาติ ฉลามก่อความรุนแรงต่อมนุษย์เพียงเฉลี่ยแค่สิบคนต่อปีเท่านั้น ไม่นับรวมถึงจำนวนของฉลามที่กำลังลดน้อยลงทุกวันจากน้ำมือของมนุษย์) Simons เองจึงหยิบนำเอาอีกหนึ่งภาพยนตร์ฉลามเรื่องคลาสสิคผลงานสร้างของ Steven Spielberg อย่าง Jaws (1975) มาฉายซ้ำอย่างโจ่งแจ้งและตรงตัวบนรันเวย์อีกครั้ง ทั้งกับเสื้อยืดสกรีนลายพิมพ์โปสเตอร์ที่ทุกคนรู้จักเป็นอย่างดี หรือเหล่าชุดดำน้ำและชุดสกูบาที่ถูกแปรรูปผสมผสานกับเหล่าชุดคอกเทลเดรสหน้าตาวินเทจ หรือจะเป็นกระโปรงและสเว้ตเตอร์ถักขาดวิ่นคล้ายรอยฟันและกรามของฉลามขาวฉีกขาดเสีย ร่วมกับนายแบบนางแบบบางคนใน Wet Look ผมเปียกแฉะเสมือนพึ่งก้าวขึ้นมาจากผืนน้ำ นอกจากนั้นเพลงประกอบชวนขนลุกอันคุ้นหูจาก Jaws ก็ถูกนำมาใช้เป็นซาวด์แทรคประกอบรันเวย์อีกด้วย

ภาพยนตร์เรื่อง Jaws (1975) และเสื้อพิมพ์ลายโปสเตอร์ผสมกับโลโก้ Calvin Klein

ขบวนชุดสกูบา

กระโปรงและสเว้ตเตอร์ถักขาดวิ่นคล้ายรอยฟันของฉลามขาวทำให้ฉีกขาด


 

แต่นี่คงไม่ใช่คอลเลคชั่นที่สมบูรณ์ของ Raf หากไม่ได้มีการผสมผสานหรือทวิสต์เข้ากับสิ่งที่ผู้ชมคาดไม่ถึง เพราะใครจะไปคิดเล่าว่าฉลามจะมาปรากฏอยู่บนรันเวย์ร่วมกับเครื่องแต่งกายที่ดูเหมือนกับว่าที่นี่ไม่ใช่การนำเสนอคอลเลคชั่นใหม่จาก Calvin Klein แต่เป็นงานรับปริญญาจบการศึกษาของบัณฑิตใหม่ต่างหาก ภาพยนตร์อเมริกันคลาสสิคอีกหนึ่งเรื่องที่ Simons เลือกมาฉายควบร่วมด้วยนั่นก็คือ The Graduate (1967) การอุปมาอุปไมยอันชาญฉลาดของ Simons กับการนำเอาความงามเปลือกนอกของพิธีเฉลิมฉลองการจบการศึกษา ที่แท้จริงแล้วอาจเป็นเพียงฉากบังหน้าจุดเริ่มต้นอันน่ากลัวของความไม่แน่นอนในอนาคต ไม่ต่างอะไรกับการล่องเรือออกไปในทะเลกว้างสุดลุกหูลูกตา ที่เราไม่อาจรู้ได้เลยว่าเมื่อไหร่ฉลามตัวยักษ์จะกระโดดขึ้นมาจากผืนน้ำเพื่อหวังจะฆ่าเราทั้งเป็น!

เสื้อคลุมรับปริญญาและหมวก Mortar Board


เสื้อเบลเซอร์สูทของถนัดที่ Raf เลื่องชื่อ เดินขบวนร่วมกับเสื้อคลุมรับปริญญาสีดำตัวโคร่งและเหล่านายแบบนางแบบที่สวมหมวก Mortar Board ในช่วงครึ่งหลังของคอลเลคชั่น เสมือนกับว่าเตรียมรอเข้าคิวเพื่อรับใบปริญญาร่วมกัน สำหรับบัณฑิตจบใหม่หรือนิสิตนักศึกษาในปีสุดท้ายที่มีแผนจะรับปริญญาในเร็ววันนี้ คอลเลคชั่นใหม่จาก Calvin Klein ในฤดูกาล Spring-Summer ปี 2019 อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อทำให้คุณโดดเด่นกว่าใครในวันจบการศึกษาก็ได้

Raf Simons ยังคงเน้นย้ำถึงวิสัยทัศน์อันเกิดจากความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่าง Calvin Klein และ American Pop Culture ที่หากย้อนไปก่อนปี 2016 คงไม่มีใครในอุตสาหกรรมแฟชั่นจินตนาการถึงมาก่อนเป็นแน่ ที่ห้องเสื้อคลาสสิคอันเป็นที่รู้จักจากสไตล์มินิมัลลิสม์แห่งทศวรรษ 1990’s จะกลายมาเป็นแหล่งรวมความป๊อบและความเป็นอเมริกันไปในขณะเดียวกันได้อย่างลงตัว ทั้งจากการจับมือนำครอบครัว Kardashian – Jenner ให้มาเป็นนางแบบในภาพโฆษณา หรือการชุบชีวิตเครื่องแต่งกาย Western หรือลุค Cowboy ให้มีชีวิตใหม่ที่ Fashionable มากขึ้น ภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ถูกผลิกโฉมจากหน้ามือเป็นหลังมือทำให้ Calvin Klein ก้าวกลับขึ้นมาเป็นผู้นำสร้างกระแสและเทรนด์ต่างๆก่อนใคร และที่สำคัญที่สุดคือการสร้างจุดยืนและให้นิยามแก่ American Fashion ร่วมสมัยให้เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนยิ่งขึ้นนั่นเอง


 

Monochromatic Operation

บทบาทของแฟชั่นจากมหานครนิวยอร์กมีทิศทางเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมานี้ หนึ่งในเหตุผลหลักอาจเป็นเพราะจำนวนของดีไซน์เนอร์เจ้าบ้านไม่น้อยที่ละทิ้งปฏิทินการโชว์เดิมด้วยเหตุผลต่างๆ อย่างบางชื่อที่เราคุ้นหูหันไปใช้การ PR ผ่าน Lookbook เสียแทนเช่น Zac Posen, Rag & Bone, Marchesa, และ Baja East บางชื่อก้าวออกจากตารางแล้วหันไปหาฤกษ์ยามวันโชว์เดี่ยวของตัวเองเสียแทนเช่น Alexander Wang หรือบางชื่อที่ถูกพิษเศรษฐกิจบีบให้ปิดประตู หยุดพักกิจการลงอย่างน่าเศร้าเช่น Thakoon ถึงกระนั้นเองตารางลำดับโชว์ ณ New York Fashion Week ก็ไม่ได้ว่างเปล่า แต่กลับกลายเป็นข่าวดีสำหรับเหล่าดีไซน์เนอร์อิสระและห้องเสื้อขนาดย่อมที่จะเฉิดฉายและได้รับความสนใจจากสื่อหลังจากการแฝงตัวอยู่ใน Underground Scene มาโดยตลอด ส่งผลให้ในวันนี้พวกเขาได้ก้าวขึ้นเป็นผู้นำทัพขับเคลื่อน American Fashion และ Youth Culture ให้มีทิศทางที่ชัดเจนมากกว่าที่เคย มากไปกว่านั้นยังได้ให้ความหมายใหม่ที่มีคุณค่าและความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อช่วงเวลานี้ ด้วยแนวความคิดที่เปิดกว้างและไร้ซึ่งอคติต่อปัจจัยใดๆ ทั้งด้านเชื้อชาติ ศาสนา อัตลักษณ์ทางเพศ อายุ หรือรูปร่างหน้าตา (ตรงกันข้ามกับแนวความคิดของประธานาธิบดีของพวกเขาอย่างสิ้นเชิง, Allegedly (?) ) เขาเหล่านี้มาในชื่อ Telfar, Vaquera, Luar, Gypsy Sport, Maryam Nassir Zadeh, Eckhaus Latta, Chromat, และพระเอกของเรา Matthew Adams Dolan

หากยก Raf Simons เป็นผู้ออกความเห็นในส่วนของคนนอกแล้ว ย่อมต้องมีมุมมองของ ‘คนใน’ มาลองเทียบกันดูบ้าง คอลเลคชั่นล่าสุดโดยดีไซน์เนอร์รุ่นเล็กหน้าใหม่พร้อมเลือดเนื้อเชื้อไขอเมริกัน Matthew Adams Dolan ซึ่งนอกจากตรงตาม Criteria ของเราแล้ว คอลเลคชั่นของเขายังสะดุดตามากเป็นพิเศษในฤดูกาล Spring-Summer ปี 2019 นี้ 

เกิดที่รัฐแมสซาชูเซตส์ ก่อนข้ามทวีปไปเติบโตและใช้ชีวิตช่วงวัยเด็กที่ซิดนีย์ ตามด้วยญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ และย้ายกลับมาใช้ชีวิตและสำเร็จการศึกษาจาก Parsons ในปี 2014 แม้จะไกลบ้านไปถึงออสเตรเลีย แต่การได้เติบโตนอกบ้านไม่ได้ทำให้เขากลายเป็นคนนอกเสียอย่างใด ทั้งความชอบในตราสินค้าอเมริกันคลาสสิคอย่าง Ralph Lauren และ Banana Republic ในช่วงทศวรรษ 1990’s ที่กลายมาเป็นแรงบันดาลใจหลักของเขาในการสร้างสรรค์เสื้อผ้า รวมทั้งการเรียนรู้เทคนิคหัตถกรรมอเมริกันดั้งเดิมจากมารดาผู้เป็นช่างปักและช่างควิลต์มากฝีมือ แบรนด์ในนาม Matthew Adams Dolan ที่วันนี้มีอายุ 3 ปีเข้าให้หลังจากนำเสนอคอลเลคชั่นแรกในฤดูกาล Spring-Summer 2016 จึงกลายเป็นที่รู้จักผ่านรายละเอียดของการเดินเส้นด้าย (Seamline) และงานควิลติ้ง (Quilting) รวมไปถึงการใช้วัสดุอย่างเดนิมและผ้าถักที่แสดงออกถึงภาพลักษณ์ Americana ได้เป็นอย่างดี แต่นั่นยังไม่ใช่ทั้งหมดที่เสริมสร้างให้ห้องเสื้ออายุน้อยกับสตูดิโอขนาดเล็กบน South Street ในนิวยอร์กแห่งนี้เป็นตัวแทนสำคัญของคนรุ่นใหม่ได้รับบทบาทหน้าที่เป็นหนึ่งในผู้กำหนดอนาคตของ American Fashion ไปอย่างไม่รู้ตัว

Matthew Adams Dolan Fall-Winter 2017

Matthew Adams Dolan Fall-Winter 2018


ใจความและปรัชญาเบื้องหลังคอลเลคชั่นของ Adams Dolan คือสิ่งที่เรารู้จักกันดีในนามว่า ‘ประชาธิปไตย’ หรือในที่นี้ ‘Democratic Fashion’ แนวคิดที่กล่าวถึงการออกแบบเสื้อผ้าที่ ‘ทุกคน’ สามารถสวมใส่ได้ คือโจทย์สำคัญที่เขายกขึ้นมาเป็นตัวตั้ง โดยมีต้นแบบจากดีไซน์เนอร์ Claire McCardell ผู้วางรากฐานและตอกเสาเข็มให้แก่ American Sportswear ให้เขาก้าวเท้าเดินตาม Claire ได้สร้างสรรค์เครื่องแต่งกายหลายชิ้นที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้สวมใส่ด้วยการตัดทอนและเหลือไว้เพียงฟังก์ชั่นหลักบนเสื้อผ้า แต่ยังคงไว้ด้วยความสวยงามและ Sophistication ร่วมสมัยแห่งยุค 40’s และ 50’s มาวันนี้กว่าหกทศวรรษให้หลัง Adams Dolan กำลังทำสิ่งเดียวกันให้กลับมาเป็นคติสำคัญแก่ American Fashion อีกครั้งหนึ่ง

Claire McCardell


คอลเลคชั่น Spring-Summer ปี 2019 นี้จึงได้ออกมาเป็นขบวนเครื่องแต่งกาย Workwear หลากหลายรูปแบบซึ่งอยู่เคียงคู่วัฒนธรรมอเมริกันมายาวนาน ทั้งแจ็คเก็ตเดนิมที่ดัดแปลงจากรูปลักษณ์ Blue Collar Worker ให้กลายเป็น Bar Jacket ชั้นสูง, กางเกง Cargo ที่ปรับให้ Fashionable ขึ้นจากการแก้สัดส่วนหรือ Transform ให้เป็นกระโปรง, เสื้อกั๊ก Utility ที่ถูกขยายใหญ่ ร่วมกับการเพิ่มประโยชน์ใช้สอยเบสิคเช่นเหล่ากระเป๋าที่ถูกขยายขนาดและสัดส่วนให้โดดเด่น ก่อนที่ทั้งหมดจะได้รับนิยามความหมายใหม่ผ่านการฉาบสีล้วนทับทั้งลุค บ้างฉูดฉาด บ้างพาสเทล บ้างขาวดำ บ้างเดนิม


ผลลัพท์คือคอลเลคชั่นเสื้อผ้าที่ใครๆก็สวมใส่ได้ทั้งนั้น หากผู้อ่านไม่เชื่อลองจินตนาการตามไปพร้อมๆกัน ทั้ง Kim Kardashian ในเสื้อเชิ้ตและกระโปรงสีเหลืองเลมอน, Rihanna ในลุคเสื้อเชิ้ตเดนิมเปิดไหล่, สาวออฟฟิสย่านดาวน์ทาวน์ในชุดสูทเทเลอร์สีกากี, เด็กหนุ่มที่ชื่นชอบดนตรีฮิปฮอปในลุคเชิ้ตเดรสกางเกงเดนิมสีดำล้วน,สาวฐานะดีวัยไฮสคูลอย่าง Regina George จาก Mean Girl (2004) หรือ Chanel Oberlin จาก Scream Queens (20152016) ในเบลเซอร์และกระโปรงสีฟ้าพาสเทล ไปจนถึงวัยรุ่นนอน-ไบนารี่ในเสื้อเชิ้ตตัวบางสีวานิลลาคู่กับกางเกงขากว้างสีเลมอนสด


ความมุ่งมั่นและปณิธานในการสร้างคอลเลคชั่นที่มาพร้อมเจตนารมณ์อันเป็นเครื่องหมายของดินแดนอเมริกันแห่งนี้อย่างเช่นประชาธิปไตย เป็นสัญลักษณ์และตัวบ่งชี้ที่ดีถึงอนาคตของ American Fashion ซึ่งนำโดย Matthew Adams Dolan ร่วมกับดีไซน์เนอร์รุ่นใหม่อีกมากมาย ว่าเต็มไปด้วยความหวัง ประเด็นทางสังคมด้าน Inclusivity และ Diversity อันเปราะบางภายใต้ร่มเงาของทรัมป์กำลังเป็นฟืนไฟส่งให้คนรุ่นใหม่เหล่านี้ฉายแสงนำทางพาจิตวิญญาณที่แท้จริงของคำว่า ‘American’ กลับคืนสู่ทุกคนอีกครั้ง และเราคงพูดได้ว่าอนาคตของ American Fashion is definitely in good hands.


 

Unbounded Reinstatement

สองสามซีซั่นมานี้อีกเหตุผลที่ทำให้นิวยอร์กแฟชั่นวี้คเงียบเหงาลงไป ส่วนหนึ่งคงเป็นผลมาจากดีไซน์เนอร์เจ้าบ้านที่ย้ายออกเพื่อเปลี่ยนที่พักพิงชั่วคราว นำโดย Rodarte และ Proenza Schouler ซึ่งขนย้ายสำมะโนครัวออกจากมหานครแฟชั่นจากทวีปหนึ่งไปสู่อีกทวีปหนึ่งพร้อมๆกันในฤดูกาล Spring 2018 ซึ่งสำหรับ Proenza Schouler แบรนด์คู่คิดของสาวสไตล์ Urban Cool & Chic แห่งนิวยอร์ก การย้ายหลักแหล่งไปอยู่ในมหานครปารีสอาจจะสร้างความประหลาดใจให้ใครหลายๆคน แต่ไม่ต้องกลัวไป! ตอนนี้ทั้ง Proenza Schouler และ Rodarte เดินทางกลับมาสู่บ้านเกิดเมืองนอนของตนเรียบร้อยแล้ว

ณ ปารีส สองคู่หู Lazaro Hernandez และ Jack McCollough ประกาศยุบการโชว์เมนคอลเลคชั่น (Spring-Summer/Fall-Winter) และพรีคอลเลคชั่น (Pre-Fall/Resort) เข้ารวมกัน พร้อมๆกับการย้ายไปโชว์ร่วมกับ Rodarte ในช่วงสัปดาห์ Couture ภายหลังได้ศึกษาตัวเลขการขายที่มีสัดส่วนสูงในเวลาเดียวกับช่วงการโชว์พรีคอลเลคชั่น ซึ่งนั่นทำให้การขยับไปอยู่ในช่วงสัปดาห์แฟชั่นชั้นสูงในกรุงปารีสและลดจำนวนการโชว์จาก 4 เป็น 2 โชว์ต่อปี จึงฟังดูแล้วสมเหตุสมผลและ Make Sense ในแง่ธุรกิจมากที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าในสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซา การสร้าง Strategy ให้ตอบรับกับผู้บริโภคและสร้างยอดขายให้ได้มากที่สุดนับเป็นสิ่งสำคัญและเป็นตัวชี้วัดความอยู่รอดของแบรนด์ได้เลยทีเดียว

Proenza Schouler Spring-Summer 2018

Proenza Schouler Fall-Winter 2018/2019


การย้ายไปพำนักที่ปารีสนั้นถือเป็นการต่อยอดความสนใจของทั้ง Hernandez และ McCollough ต่อเสื้อผ้าประเภท Couture ดังที่สามารถเห็นได้ผ่านดีเทลรายละเอียดการตกแต่งที่แตกต่างจากปกติวิสัยของแบรนด์ไปมากทีเดียวในคอลเลคชั่น Spring 2018 และลดหลั่นลงมาในคอลเลคชั่น Fall 2018/2019 ซึ่งเมืองไหนกันเล่าที่จะตอบสนองความสนใจนี้ได้มากไปกว่าเมืองหลวงแห่งการตัดเย็บชั้นสูง ซึ่งนอกจากจะได้เข้าไปในดินแดนใหม่ที่ต่างเมือง ต่างวัฒนธรรม ต่างภาษา ทั้งสองยังได้ขยายเส้นขอบฟ้าของแบรนด์ให้กว้างขึ้นกับการก้าวเข้าไปในอีกดินแดนที่ไม่เคยพบเห็นได้มาก่อนบนแผนที่ของ Proenza Schouler  แต่กระนั้นภายหลังจากการไปเป็นคนนอก ณ ต่างเมืองถึงสองซีซั่น ภาพที่เราได้เห็นกันบนรันเวย์ฤดูกาลใหม่ในกรุงนิวยอร์กแทบจะเหมือนกับการพลิกหน้ามือเป็นหลังมืออย่างสิ้นเชิง เสมือนกับว่าทั้งคู่ไม่เคยก้าวเท้าออกนอกประเทศไปเหยียบแผ่นดินฝรั่งเศสมาก่อน รายละเอียดการตกแต่งทั้งลูกไม้ ขนนก ไปจนถึงการปักที่เคยปรากฏ แทบมิได้ลงเหลืออยู่เลยในคอลเลคชั่น Spring-Summer ปี 2019 Hernandez และ McCollough เองก็คงรู้สึกเช่นเดียวกับพวกเราว่า นี่ใช่ภาพลักษณ์ของ Proenza Schouler จริงหรือกับเหล่าเครื่องแต่งกาย Semi-Couture ในสองคอลเลคชั่นที่ผ่านมา ขอบฟ้าที่ได้ขยายให้กว้างขึ้นอาจจำเป็นที่จะต้องร่นถอยกลับมาเพื่อหาจุดยืนของแบรนด์ที่แท้จริงอีกครั้งหนึ่งหรือเปล่า? 

การได้เดินทางกลับบ้านนอกจากจะนำมาซึ่งความรู้สึกอุ่นใจและความคุ้นเคย ยังมักนำมาซึ่งมุมมองใหม่ๆต่อบ้านเกิดที่หลายคนอาจเคยรู้สึกเมื่อได้กลับประเทศไทยหลังจากการไปอาศัยในต่างแดนเป็นเวลาหนึ่ง เช่นกันกับ Hernandez และ McCollough การกลับสู่แผ่นดินอเมริกาเหนือยังเป็นการพาทั้งสองกลับมายังจุดเริ่มต้นของ Proenza Schouler กับแนวทางการออกแบบและคติใจความของเสื้อผ้า Ready-To-Wear ในนครปารีสทั้งสองได้หยิบนำวัสดุและการตกแต่งมากมายมาใช้ในคอลเลคชั่น การได้กลับบ้านสู่กรุงนิวยอร์กจึงน่าคิดไม่เบาหากพวกเขาใช้ผ้าเพียงแค่ชนิดเดียวสำหรับทั้งคอลเลคชั่น ซึ่งผ้าชนิดใดกันที่จะบอกเล่าถึงอัตลักษณ์สัญชาติอเมริกันบ้านเกิดได้ดีไปกว่า ‘เดนิม’ ผลลัพท์จึงเกิดเป็นขบวนพาเหรดเครื่องแต่งกายผ้าฝ้ายที่ทอแบบทวิล (Twill Weave) ในโครงสร้างรูปร่างเบสิคที่สุด ร่วมกับเทคนิคบนผ้ายีนส์ยอดฮิตอย่างการฟอก (Bleached) การมัดย้อม (Tie-Dyed) และการจุ่มคราม (Indigo Dipped) ไปจนถึงการตกแต่งสมทบด้วยการตอกหมุด (Studded) และการเดินเส้นด้าย (Seamline) 

จากลุคที่หนึ่งไปจนถึงลุคที่สามสิบเอ็ด มีจำนวนสีที่ใช้ไม่ถึงแปดสี (ขาว, ไอวอรี่, ดำ, ฟ้าเดนิม, เขียว, และเหลือง) แถมยังไม่ปรากฏให้เห็นลายพิมพ์ใดๆทั้งสิ้น (นอกจากการปะติด Photography เมืองนิวยอร์กแผ่นไซส์เล็กบนไอเท็มอย่างเชิร์ต) นี่เป็นการกลับสู่ความเรียบง่ายและเครื่องแต่งกายมินิมอลลิสม์อย่างสุดโต่งทางกระบวนการความคิดอย่างแท้จริงสำหรับแบรนด์อย่าง Proenza Schouler ภายใต้ภาพลักษณ์ดิบและกรั้นช์ในคอลเลคชั่นนี้ แต่ถึงกระนั้นการกลับบ้านของ Jack และ Lazaro ไม่สามารถสร้างความประทับใจต่อจุดเริ่มต้นศักราชใหม่นี้ให้แก่เอดิเตอร์และนักวิจารณ์แฟชั่นได้เท่าไหร่นัก ตรงกันข้าม คอลเลคชั่นนี้กลับถูกมองว่ายังไปไม่ไกลมากพอ แนวคิดการหยิบยกยีนส์มาใช้กลับเป็นเพียงแค่ผิวเผิน แถมเหล่าเทคนิคการฟอกหรือกัดสีด้วยกรด, การมัดย้อม, และการจุ่มครามที่ว่าก็ล้วนแล้วแสนจะ Cliché ไม่ต่างจากใครที่ไหนที่ล้วนแล้วต่างจะใช้วิธีการเหล่านี้กับผ้าเดนิมกันทั้งนั้น ผลลัพท์ของคอลเลคชั่นนี้จึงอาจเป็นเพียงคำตอบจากการทดลองเบื้องต้นที่ไม่ได้ลึกซึ้งเท่าที่ทุกคนคาดหวังไว้กับแบรนด์คูลคิดส์แห่งนิวยอร์กอย่าง Proenza Schouler จึงอาจอดคิดไม่ได้ว่า ในขณะที่ทั้งสองกำลังให้คำนิยามและตามหาความหมายของ American Identity กลับกลายเป็นตัวแบรนด์เองต่างหากที่กำลังประสบ Identity Crisis อยู่หรือไม่?

ผู้เขียนไม่ขอเป็นผู้ตัดสินว่าคอลเลคชั่นนี้ขาดสิ่งไหนหรือเกินในส่วนใด แต่เหล่าเครื่องแต่งกายที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่าถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองการสวมใส่ในชีวิตประจำวันบนรันเวย์ของ Proenza Schouler นี้ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความตั้งใจและความปราถนาดีของทั้งสองดีไซน์เนอร์ที่มีต่อผู้หญิงอเมริกันและผู้หญิงยุคใหม่ทั่วทั้งโลก โดยประจักษ์ให้เห็นตลอดมาภายใต้ระยะเวลาความสำเร็จกว่า 16 ปี หลังจากการก่อตั้งแบรนด์ขึ้นในปี 2002 แบรนด์ร่วมสมัยแห่งนี้ก็ยังคงยืนนำหน้าเป็นผู้ก้าวพาดีไซน์เนอร์ในเจเนเรชั่นมิลเลนเนียลอีกมากมายตั้งแต่ Alexander Wang, Derek Lam, 3.1 Phillip Lim, Prabal Gurung ไปจนถึง Jason Wu ให้ก้าวขึ้นมาเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของ American Fashion ตามหลังยุคของเหล่าตำนานอย่าง Marc Jacobs, Jill Stuart, Vera Wang, Anna Sui, Donna Karan และ Narciso Rodriguez และแน่นอนว่าแรงขับเคลื่อนของเจเนเรชั่นมิลเลนเนียลนี้จะยังคงดำเนินต่อไปอีกนาน


 

มุมมองที่แตกต่างกันทั้งสามมุมมองต่อทิศทางของ American Fashion นั้นแม้จะแตกต่างกันเกือบจะสิ้นเชิง แต่จุดร่วมที่เห็นได้ชัดเจนคือความพยายามเข้าถึงอัตลักษณ์ความเป็นอเมริกันที่แท้จริงไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตาม ก่อนจะถ่ายทอดออกผ่านเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ทั้งตรงตัวหรือแอบแฝงอย่างแนบเนียน ซึ่งล้วนคงอยู่ภายใต้กรอบปัจจัยการออกแบบที่แต่ละแบรนด์ได้สร้างขึ้น ไม่เพียงแค่ Calvin Klein, Matthew Adams Dolan และ Proenza Schouler ที่ได้ยกตัวอย่างขึ้นมาเพียงเท่านั้นที่ทำการตามหาและตีความนิยามของ American Fashion ในอุดมคติออกมาเป็นคอลเลคชั่นในฤดูกาลนี้ ยังมี Michael Kors ผู้หลีกหนีจากความวุ่นวายและหมองครึ้มของสังคมอเมริกันก่อนจะได้พบเจอความสงบสันติกับคอลเลคชั่นเสื้อผ้าริมหาดสีสันสดใส, Telfar Clemens แห่ง Telfar ผู้หยิบยก Americana Iconography ทั้งรูปธรรมและนามธรรมตั้งแต่เสื้อโปโลไปจนถึงแนวคิด Consumerism มาตีความเป็นเครื่องแต่งกาย Urban Street บนรันเวย์ใต้ฝนปรอย, ไปจนถึงที่ Vaquera กับการตามหาความหมายของ American Dream และถ่ายทอดผ่านแนวคิด Back To School กลับสู่ช่วงวัยมัธยมอีกครั้งหนึ่ง และอีกมากมายหลายคอลเลคชั่นหลายตราสินค้าที่ยังคงทดลองแก้สมการหาผลลัพธ์ของ American Fashion กันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีใครสามารถที่จะนิยามความหมายได้อย่างตายตัว และการเปลี่ยนแปลงไปของคำตอบอย่างไม่หยุดนิ่งนี่แหละที่ทำให้ American Fashion ยังคงก้าวเดินต่อไปข้างหน้า พร้อมกับเปลี่ยนแปลงรูปร่างหน้าตาไปตามกาลสมัย สภาพแวดล้อม และปัจจัยต่างๆทางสังคมที่ส่งผลต่อความคิดความอ่านของเหล่านักออกแบบทั้งหลายผู้กุมชะตาและรับหน้าที่เป็นกัปตันบังคับเรือลำนี้ ซึ่งผู้เขียนได้แต่หวังว่า American Fashion จะแล่นไปในทิศทางอนาคตอันหอมหวานที่ปูทางด้วย Diversity, Inclusivity และ Equality

Raf’s Hopeful Dystopia

เสมือนเพียงชั่วพริบตาเท่านั้น เวลากว่าหกเดือนเดินทางผ่านไปอย่างรวดเร็ว และนั่นคือสัญญาณของสัปดาห์แฟชั่นวี้คที่วนมาบรรจบครบอีกหนึ่งฤดูกาลอีกครั้ง ณ New York Fashion Week ซึ่งจบลงและได้ส่งไม้ต่อให้หัวเมืองถัดไปอย่าง London เรียบร้อยแล้ว และในมหานครนิวยอร์กแห่งนี้เองท่ามกลางโชว์และรันเวย์ของแบรนด์และดีไซน์เนอร์จำนวนนับไม่ถ้วน หนึ่งในนั้นคือโชว์ของแบรนด์ที่เรายังคงให้ความสนใจและเฝ้าจับตามองอยู่ห่างๆอย่าง Calvin Klein โดย Raf Simons นั่นเอง

ในคอลเลคชั่นที่แล้วเราต่างได้ร่วมรับชมภาพยนตร์ทริลเลอร์สยองขวัญในแบบฉบับของ Simons ไปแล้ว ถ้าหากยังจำกันได้กับภาพยนตร์เรื่องที่ว่าด้วย American Horror และ American Dream ผสมผสานกันอย่างลงตัวผ่านขบวนเสื้อผ้าเปื้อนเลือดและถุงขยะห่อศพ มาในคราวนี้ดูเหมือนประเภทของภาพยนตร์ที่ Raf ฉายขึ้นบนรันเวย์จะเปลี่ยนทิศทางไปสู่หมวดอื่นเสียแล้ว ซึ่งผู้เขียนขอจำกัดความภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างง่ายๆเบื้องต้นให้เป็นการผสมผสานของหมวด Superhero, Apocalyptic, Historical และ Dark Comedy ก็แล้วกัน

“คนนอก” อย่าง Raf ยังคงทำหน้าที่เป็นผู้ตีค่าและปรับมุมมองให้กับแก่นของความเป็น American อย่างต่อเนื่อง ด้วยการมาเยือนในช่วงเวลาอันบังเอิญและเหมาะเจาะ ณ แผ่นดินอเมริกาภายใต้ยุคแห่งความสับสนและความตึงเครียดด้านในทำเนียบขาว นอกจากนั้นด้านนอกกำแพงการเมือง สิ่งที่อเมริกาและโลกกำลังประสบอยู่ในเวลานี้เองก็ล้วนเต็มไปด้วยเรื่องยุ่งเหยิงที่เกินเยียวยาและมีแต่จะเรื้อรังขึ้นในอนาคตแบบที่เราทุกคนทำได้ก็แต่เพียงตั้งรับ ไม่รู้ว่าเป็นเรื่องที่ดีหรือไม่แต่ดูเหมือนว่าเรื่องร้ายๆและสถานการณ์แย่ๆเหล่านี้นี่เองที่กลายเป็นตัวช่วยจุดประกายไอเดียและกลายเป็นวัสดุตั้งต้นของคอลเลคชั่นใหม่ของ Raf Simons ที่ Calvin Klein ไปอย่างน่าแปลกใจ

หนึ่งในคีย์เวิร์ดกว่า 50 คำที่ปรากฏใน Show Note ประจำซีซั่นนี้คือคำว่า “Heroes” ซึ่งในสภาวะสภาพสังคมที่สามารถทำให้เราเครียดได้เพียงแค่นั่งคิดถึงอนาคต คำคำนี้อาจจะเปนคำที่เราต้องการมากที่สุด ณ เวลานี้ เราทุกคนต่างกำลังมองหาบุคคลที่จะมาเป็นผู้ยึดเหนี่ยวนำทางจิตใจของพวกเราทุกคนให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกัน คนที่เราสามารถไว้ใจและนำพาเราไปสู่ปลายทางอันแสนสงบสุข สำหรับ Raf นั้นดูเหมือนเขาจะค้นพบบุคคลผู้นั้นแล้ว และเขาไม่ได้อยู่ไกลเกินเอื้อมของพวกเราเลย เขาคือเหล่านักดับเพลิงผู้กล้าหาญผู้คอยช่วยเหลือและทำหน้าที่ป้องกันอัคคีภัยแก่เราทุกคนเป็นกิจวัตรและอาชีพนั่นเอง โดยในสามลุคแรกของคอลเลคชั่น สีส้มสดและแถบเรืองแสงจากเครื่องแบบนักดับเพลิงถูก Raf ทำให้ดูร่วมสมัยและน่าสวมใส่มากขึ้นในฟอร์มของเสื้อสเว้ตเต้อร์และแจ๊คเก็ตปาร์ก้าได้อย่างตรงตัวและชัดเจน นอกจากนั้นยังปรากฏเป็นดีเทลเล็กๆในหลายลุคถัดมาในคอลเลคชั่นอีกด้วย

หากปัญหาความขัดแย้งระหว่างโดนัลด์ทรัมป์และคิมจองอึนจะกลายเป็นชนวนก่อให้เกิดสงครามโลกครั้งที่สามในอนาคต Raf Simons กลับเลือกหันมามองที่พวกเราผู้เป็นสักขีพยานเฝ้ารับชมเหตุการณ์ แล้วหยิบเอาความวิตกกังวลที่พวกเรามีต่อความขัดแย้งนี้มาเป็นชนวนของคอลเลคชั่นนี้แทน Simons ทำการมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์อเมริกันเมื่อสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้ได้เกิดขึ้นมาแล้วระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามเย็น (ไม่รู้ว่าเพราะบังเอิญหรือเหตุผลใด แนวความคิดนี้ไม่ต่างจาก Lana Del Ray ในเพลง Coachella – Woodstock In My Mind จากอัลบั้ม Lust For Life สักเท่าไหร่เลย) และเมื่อพูดถึงสงครามเย็น แน่นอนว่าสิ่งสำคัญที่สุดที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ความขัดแย้งครั้งนั้นคือการเดินทางบุกเบิกไปเยือนดวงจันทร์เป็นครั้งแรกของมวลมนุษยชาติ และต้นกำเนิดยุค Space Age ในช่วงปี 1960’s ผลลัพท์ของกระบวนการความคิดนี้เองจึงทำให้เราพบเห็นนักบินอวกาศออกมาโลดแล่นบนรันเวย์ผ่านการใช้พลาสติกไมลาร์ ถุงมือและรองเท้าบู๊ท ไปจนถึงที่คลุมหัวหลายรูปทรงหรือที่เราเรียกกันง่ายๆว่าไอ้โม่ง (Balaclava) ผลิตจากทั้งไมลาร์และไหมพรม ซึ่ง Simons ได้เมนชั่นภาพยนตร์เรื่อง Safe จากปี 1995 นำแสดงโดย Julianne Moore อันกล่าวถึงผู้ที่เจ็บป่วยจากสภาพแวดล้อมมาเป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจอีกด้วย ดูเผินๆแล้วเหมือนกับว่านี่คือเครื่องแต่งกายที่ Raf วาดฝันจะให้พวกเราสวมใส่ในวันที่โลกได้ล่มสลายลงแล้วภายหลังสงครามนิวเคลียร์ หรืออย่างน้อยๆก็สำหรับคนที่ยังมีชีวิตรอดอยู่ได้จนถึงตอนนั้น

พลาสติกไมลาร์ในรูปแบบของเดรสตกแต่งด้วยลูกไม้ ที่คลุมหัว และเสื้อกั๊ก

ภาพยนตร์เรื่อง Safe (1995)

หมวกไอ้โม่งผ้าถักสีสันต่างๆ


มากไปกว่าการมองย้อนกลับไปในช่วงสงครามเย็นแล้ว Simons ยังหมุนเข็มนาฬิกาท่องเวลากลับไปในอดีตไกลกว่านั้นอีกกว่า 100 ปี เพราะไทม์แมชชีนของเขาได้ไปหยุดลงที่ยุค Civil War โดยทั้งคำว่า Civil และ War ไปจนถึงชื่อภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของ Sofia Coppola ที่มีแบ๊คกราวน์อยู่ในห้วงเวลาประวัติศาสตร์ช่วงปีเดียวกันนี้เองอย่าง Beguiled ก็ปรากฏเป็นอีกสามคีย์เวิร์ดใน Show Note อีกด้วย ขบวนชุดเดรสยาวลากพื้นผ้าโปร่งสีพาสเทลส่งตรงมาจากทศวรรษที่ 1860 พร้อมกับกลิ่นอายความรู้สึก Romantic และ Innocence ของความ Feminine นอกจากนั้น Raf ยังดึงเอาเทคนิคการควิลต์และแพทช์เวิร์คที่อยู่คู่กับวัฒนธรรมอเมริกันมาอย่างช้านานมาช่วยสร้างทั้งเดรส เสื้อเชิ้ต และผ้าห่มอันเป็นอีกหนึ่งแอคเซสเสอร์รี่ที่ขาดไม่ได้ของซีซั่นนี้

ชุดเดรสที่ได้แรงบันดาลใจจากเสื้อผ้ายุค Civil War และภาพยนตร์เรื่อง Beguiled (2017)

เทคนิคควิลต์และแพทช์เวิร์ค


Raf ไม่ลืมที่จะเสียดสีและแสดงความขบขันที่เขามีต่อ American Pop Culture ออกมาอย่างสนุกสนานและตรงไปตรงมาด้วยการหยิบเอาตัวการ์ตูนจาก Looney Tunes อย่าง Wile E. Coyote และ The Road Runner มาใส่ลงบนเสื้อสเว้ตเต้อร์พูลโอเวอร์ที่คงถูกใจใครหลายๆคน และนี่คงไม่ใช่ Calvin Klein โดยฝีมือของ Raf Simons หากเราไม่ได้พบเห็นผลงานของ Andy Warhol ในโชว์ครั้งนี้ แม้จะไม่ได้ถูกพบเห็นบนเสื้อผ้าแต่จิตวิญญาณของ Pop Art ที่ติดตามมาตั้งแต่คอลเลคชั่นแรกยังคงฟุ้งอยู่ในโชว์ผ่านผลงานของ Warhol ที่ถูกประดับอยู่บนฉากโรงนาขนาดใหญ่ภายใน Venue และที่สร้างความแปลกใจให้ถูกพูดถึงมากเป็นพิเศษก็คงเป็นพื้นรันเวย์ที่ถูกครอบคลุมด้วยกองพะเนิน Popcorn หรือข้าวโพดคั่วที่ผู้เข้าชมโชว์และนางแบบนายแบบต่างต้องพยายามมากเป็นพิเศษเพื่อให้เดินย่ำและทรงตัวได้อย่างสมดุล และแน่นอนป๊อบคอร์นเหล่านี้สามารถรับประทานได้!

The Road Runner และ Wile E. Coyote บนสเว้ตเต้อร์พูลโอเวอร์

_AG31468

บรรยากาศโรงนาตกแต่งภาพพิมพ์ของ Andy Warhol และพื้นที่ปูด้วยกองข้าวโพดคั่ว


นอกจากนั้น Popcorn ยังกลายเป็นอีกหนึ่งอุปมานิทัศน์ถ่ายทอดสาระที่แอบแฝงอยู่ในโชว์นี้ เพราะเมื่อโลกความเป็นจริงเต็มไปด้วยความวุ่นวายและความอลหม่าน วิธีที่ง่ายที่สุดในการจะหลีกหนีพาตัวเองออกจากความเป็นจริงได้ก็คือการหยิบเอาข้าวโพดคั่วขึ้นมาเคี้ยวเล่นพลางรับชมภาพยนตร์เรื่องโปรดนั่นเอง อุตสาหกรรมภาพยนตร์ขนาดยักษ์ใหญ่อย่าง Hollywood นี่เองคือผู้แบกรับหน้าที่ปลอบประโลมและสร้างความบันเทิงให้กับชาวบ้านเช่นพวกเรา ย้อนไปในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) ในทศวรรษที่ 1930 นั่นกลับเป็นจุดเริ่มต้นยุคทองของธุรกิจภาพยนตร์ที่เติบโตขึ้นจากการเป็นกำลังขับเคลื่อนเติมความสุขชั่วคราวให้แก่อเมริกันชนผู้ทุกข์ยาก ถ้าจะพูดง่ายๆ Hollywood ก็เปรียบเสมือนเป็นผู้สร้าง ‘ความหวัง’ ให้แก่เราทุกคนนั่นเอง เมื่อความจริงนั้นยากจะยอมรับและเต็มไปด้วยเรื่องตลกร้ายโง่เขลา เรื่องโกหกอย่างภาพยนตร์อาจจะเป็นสิ่งเดียวที่สร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาให้แก่เราได้ ณ เวลานี้ (วัดกันง่ายๆกับตัวอย่างเมื่อคราวงานประกาศรางวัลลูกโลกทองคำครั้งที่ผ่านมา เราดูจะศรัทธาในตัวโอปราห์มากกว่าโดนัลด์ทรัมป์เป็นไหนๆ)

พูดถึงคำโกหก สองดารานำหญิงจากซีรี่ย์ดัง Big Little Lies จาก HBO ทั้ง Laura Dern และ Nicole Kidman ก็ร่วมเข้าชมโชว์อยู่แถวหน้า, Margot Robbie จากภาพยนตร์ชีวประวัติ I, Tonya ร่วมกับแขกประจำอย่าง Paris Jackson, Millie Bobby Brown, Kyle Maclachlan, A$AP Rocky เป็นต้น ในขณะที่บนรันเวย์มีเหล่าฮีโร่เดินดินอย่างนักดับเพลิง ที่ฟร้อนต์โรว์ก็ได้นักแสดงจากภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ Blockbuster เรื่องใหม่อย่าง Black Panther ทั้ง Michael B. Jordan, Lupita Nyong’o, Letitia Wright มาสมทบร่วมด้วย

rexfeatures_9376146ae

Margot Robbie, Nicole Kidman, Laura Dern

Calvin Klein show, Front Row, Fall Winter 2018, New York Fashion Week, USA - 13 Feb 2018

Michael B. Jordan, Lupita Nyong’o, Letitia Wright


สุดท้ายนี้ ‘ความหวัง’ นี่แหละคือสิ่งที่ Raf Simons อยากจะตอกย้ำและชูโรงขึ้นเป็นคติประจำใจให้เราพึงมีท่ามกลางช่วงเวลาแห่งความสับสนนี้ ไม่ว่าปัญหาวิกฤตระดับชาติอะไรก็ตามที่กำลังรังควานใจและสร้างความวิตกกังวล ตั้งแต่ความเบาปัญญาของผู้นำ ความอยุติธรรมของระบอบการปกครอง สภาพอากาศอันเลวร้าย เศรษฐกิจที่ฝืดเคือง (No shade to any country…) ไปจนถึงสงครามโลกครั้งที่สามที่รอเวลาอุบัติขึ้นอยู่ทุกเมื่อ มนุษยชาติจะดำเนินต่อไปไม่ได้เลยหากไร้ซึ่งความหวัง ฉะนั้นแล้วเราขอจบบทความนี้ลงด้วยท่อนเนื้อเพลง When The World Was at War We Kept Dancing จาก Lana Del Ray ที่ผู้เขียนอดนึกถึงไม่ได้เพราะความคล้ายคลึงกันของมุมมองที่เธอและ Raf Simons มีร่วมกัน…

“…Is it the end of an era?
Is it the end of America?
No, it’s only the beginnin’
If we hold on to hope, we’ll have our happy endin’
When the world was at war before
We just kept dancin’…”


Image Source : Courtesy of Vogue, Courtesy of WWD

An Ode to Growing Up

เริ่มต้นศักราชใหม่กับสัปดาห์แฟชั่นแรกของปีกับ London Men Fashion Week ที่กำลังถูกตั้งคำถามถึงมาพักหนึ่งกับ ความจำเป็นหรือใหม่สำหรับการมีแฟชั่นวี้คเพื่อการโชว์เสื้อผ้าของผู้ชาย? ในเมื่อมาวันนี้ แบรนด์ทั้งเล็กและใหญ่หลายแบรนด์ได้พากันตัดสินใจเหมารวมยุบเอาทั้งเสื้อผ้าชายและหญิงเข้าร่วมโชว์พร้อมกันในสัปดาห์แฟชั่นวี้คหลักโดยมิได้นัดหมาย ด้วยข้อดีมากมายที่จะเป็นผลประโยชน์ต่อแบรนด์เอง ไหนจะได้ทั้งประหยัดงบ และทำให้ระบบการทำงานและการวางแผนปฏิทินง่ายขึ้นหลายเท่า ลดความยุ่งยากและสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปยิ่งในช่วงที่เศรษฐกิจพึ่งพาและเอาแน่เอานอนไม่ได้ทั่วทั้งโลก กระนั้นก็ตาม London Men Fashion Week ยังคงเป็นสถานที่ที่ช่วยผลักดันและขับเคลื่อนวงการแฟชั่นผู้ชายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะกลุ่มดีไซน์เนอร์เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายชายหน้าใหม่ ที่นำเอาพลังงานและไอเดียใหม่ๆที่พวกเขามีต่อ’เสื้อผ้าผู้ชาย’มาเสริมสร้างความสนุกสนานให้แก่ที่แห่งนี้ได้เสมอ ท่ามกลางชุดสูทฟอร์มอลและเสื้อยืดกางเกงยีนส์ที่แทบจะทำให้เราๆหน่ายและส่ายหัว

มาวันนี้ ดีไซน์เนอร์หน้าใหม่คนหนึ่งกำลังส่องสว่างเป็นดาวรุ่งเด่นประจำกรุงลอนดอน เขาคนนั้นก็ไม่ใช่ใครที่ไหน Charles Jeffrey จาก Charles Jeffrey Loverboy ผู้เป็นเจ้าของรางวัล British Fashion Award for Emerging Menswear Designer ของปีที่แล้วนั่นเอง

Jeffrey ใช้โอกาสในฤดูกาลนี้นำเสนอคอลเลคชั่นเสื้อผ้าผ่านโชว์กึ่ง Performance Art ขนาดย่อมๆที่ทำให้ผู้เข้าชมปนเปไปด้วยความรู้สึกที่ผสมผสานกันอย่างสับสน หนึ่งในนั้นคือความรู้สึก Uncomfortable ที่ดูจะรุนแรงเป็นพิเศษ แต่ในขณะเดียวกันสิ่งหนึ่งก็ชัดเจนด้วยเช่นกัน ว่าตำแหน่ง Emerging Menswear Designer ของเขานั้นเหมาะสมและสมควรได้รับมันไปอย่างไร้ข้อกังขา ซึ่งก่อนจะว่ากันถึงตรงนั้นขอกล่าวถึงเบื้องหลังและแรงบันดาลใจที่นำไปสู่คอลเลคชั่นนี้เสียก่อน

Charles Jeffrey ในวัย 27 ปี กับพื้นเพทางครอบครัวและการเติบโตในเมือง Glasgow แห่ง Scotland ถ่ายทอดชีวิตความทรงจำในวัยเด็กของเขาโดยเฉพาะความรู้สึกและอารมณ์ภายในที่ถูกสั่งสมไว้จากการเติบโตเป็นเกย์ ในโลกที่ถูกครอบครองโดยชายจริงหญิงแท้ ผ่านเครื่องแต่งกายประจำฤดูกาล Fall-Winter ปี 2018 และ Performance Art ย่อมๆที่เรากล่าวถึงด้วยเช่นกัน หนึ่งใน Reference ที่ Jeffrey ได้อ้างอิงยังมาจากหนังสือในนาม ‘The Velvet Rage: Overcoming the Pain of Growing Up Gay in a Straight Man’s World’ ของ Alan Downs นักจิตวิทยาชาวอเมริกันอีกด้วย ขบวนเสื้อผ้าบนรันเวย์จึงเต็มไปด้วยเนื้อหาและการตีความการหวนคืนสู่ความทรงจำเหล่านั้นออกมาในหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ชุดสูท โค้ทยาว เสื้อเชิ้ตหรือสเว้ตเตอร์ที่ขาดหวิ้นเป็นจุดๆประหนึ่งเครื่องแบบนักเรียนที่ถูกฉีกขาดเพราะการถูกกลั่นแกล้งในรั้วโรงเรียน (ซ้ำยังทำให้นึกถึงชุดเดรสลายพิมพ์ขาดรุ่ยไอคอนิค The Tears Dress ของ Schiaparelli ได้อีกด้วย) สเว้ตเตอร์ลายทาร์ทานยัดนุ่นตัวใหญ่ที่อาจจะสื่อได้ถึงกล้ามเนื้ออันเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นชายและความเป็นชายในอุดมคติ (Ironically กลับกลายเป็นว่าความเป็นชายในอุดมคติแบบกล้ามเนื้อเป็นมัดๆ Mascular Guy จะพบเห็นได้ในกลุ่มเกย์มากกว่าผู้ชายแท้ๆเสียอีก?) แจ๊คเก็ตลวดลายสาดสีเสมือนงานเพ้นท์ติ้งของ Jackson Pollock ที่สามารถแทนสัญลักษณ์ของอารมณ์โกรธที่ถูกถ่ายทอดออกมาผ่านการละเลงสีสันต่างๆก็เป็นได้ มากไปกว่านั้น Jeffrey ไม่ลืมนำเอาแบ็คกราวน์ Heritage ความเป็น Scottish มาแสดงออกผ่านลวดลายทาร์ทานและคิลต์จำนวนมากบนรันเวย์ที่สวมใส่โดยทั้งชายและหญิงได้อย่างน่าสนใจ รวมทั้งตัว Jeffrey เองในคิลต์ลายทาร์ทานสีดำแดงในตอนท้ายของโชว์เมื่อเขาออกมาน้อมรับเสียงปรบมือ นอกจากนั้นยังมีไอเท็มชิ้นขายอย่างเสื้อสูทเทล์เลอร์ลาย Pinstripe กับปกผ้ากำมะหยี่สีน้ำเงิน, สเว้ตเตอร์ถักพร้อมชื่อแบรนด์ Loverboy, และกางเกงสีฟ้าตกแต่งแถบข้างสีแดงที่น่าสนใจไม่ต่างกัน กลิ่นอายความเป็น Punk ลอยฟุ้งควบคู่ไปกับเสื้อผ้าในหลายๆลุคอีกด้วย โดยรวมแล้วคอลเลคชั่นนี้จึงเป็นการถ่ายทอด แสดงออก และนำเสนออารมณ์ของเด็กผู้ชายคนหนึ่งที่เพียงต้องการเป็นตัวของตัวเองในแบบของตัวเอง เด็กผู้ชายคนหนึ่งที่อดทนอดกลั้นต่อสังคมที่เต็มไปด้วยข้อจำกัดและกำแพงที่พยายามกีดกันเขาจากการมีชีวิตในแบบที่เขาต้องการ เด็กผู้ชายคนหนึ่งที่มาวันนี้แสดงให้ใครหลายๆคนที่เคยกลั่นแกล้งเขาในวันนั้นว่า “What doesn’t kill you makes you stronger.”  ผ่านความสำเร็จที่ผลิบานในวันนี้

เสื้อผ้าขาดรุ่ยเป็นจุดๆ

_ARC0118

สเว้ตเตอร์ลายทาร์ทานยัดนุ่นตัวใหญ่

ลวดลายสาดสี Abstract

ขบวนลวดลายทาร์ทานและคิลต์


ระหว่างสไตล์และความสดใหม่อย่างมีเอกลักษณ์ทางมโนทัศน์ของแบรนด์, ความครีเอทีฟสร้างสรรค์ที่เฉพาะตัว กับคุณภาพของเสื้อผ้าชิ้นขายอย่างสูทและสเว้ตเตอร์ รวมกันแล้วคงไม่แปลกถ้าจะทำให้ดีไซน์เนอร์คนนี้ก้าวขึ้นรับรางวัล Emerging Menswear Designer (จากมือ John Galliano หนึ่งในผู้เป็นแรงบันดาลใจส่วนตัวต่อ Jeffrey เอง) เมื่อเดือนที่แล้ว ทลายคำถามและข้อสงสัยต่อความสามารถของ Club Kid คนนี้ลงหมดจด

DQRzoNKV4AA7SRs


บรรยากาศของ Performance Art ที่รายรอบเสื้อผ้ายังช่วยส่งสารเนื้อหาและอารมณ์ส่วนตัวของเขาให้แก่ผู้ชมได้เป็นอย่างดี ทั้งดนตรีจากกลองชุดที่รุนแรงตลอดทั้งโชว์ และนักแสดงประกอบฉากที่เป็นอีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญ กลุ่มนักแสดงกระจายอยู่ตามจุดต่างๆบนรันเวย์เป็นเสมือนตัวแทนของอารมณ์ที่เขากล่าวถึง ทั้งความโกรธ, ความเจ็บปวด, ความผิดหวัง, Self-Doubt, ความกระวนกระวายหวาดระแวงและ ความวิตกกังวล แต่ในขณะเดียวกันนักแสดงกลุ่มนี้ก็ยังแทนค่าได้เหมือนกับกลุ่มคนที่ล้อเลียน กลั่นแกล้ง ข่มเหงและกดขี่ตัว Jeffrey ในอดีตได้อีกด้วย ท่าทาง การแสดงออกและพฤติกรรมอย่างบ้าคลั่งและสุดโต่งของนักแสดงแต่ละคนตั้งแต่การกรีดร้อง หัวเราะเยาะ ทำสีหน้าเย้ยหยัน เสแสร้งปรบมือ ต่อนางแบบนายแบบ รวมไปทั้งต่อผู้ชมในแถวฟร้อนต์โรว์อีกด้วย กลายเป็นส่วนเสริมเรื่องราวของคอลเลคชั่นให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น และสร้างโชว์ที่น่าจดจำโชว์หนึ่งให้แก่ใครหลายๆคน

บรรยากาศของโชว์และนักแสดง Performance Art


จุดแข็งของ Charles Jeffrey คงเป็นความสามารถในการจัดสรรระหว่างความคิดสร้างสรรค์กับการสร้างธุรกิจเสื้อผ้าอย่างสมดุล ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ดีไซน์เนอร์หลายๆคนในสไตล์ Conceptual หรือในกรณีของ Jeffrey กับสไตล์ Theartical พึงมี ท่ามกลางตลาดแฟชั่นที่เต็มไปด้วยการแข่งขันกันอย่างน่ากลัว หากดีไซน์เนอร์รักษาความสมดุลนี้ไว้ไม่ได้ อาจจะกลายเป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่เกิดขึ้นและดับไปในช่วงเวลาสั้นๆอย่างน่าเศร้า แต่สำหรับ Charles Jeffrey Loverboy ภายหลังจากการนำเสนอคอลเลคชั่นนี้ไปซึ่งนับได้ว่าเป็นคอลเลคชั่นที่ดีที่สุดของเขา ชัดเจนแล้วว่าชื่อนี้คงยังไม่จากเราไปไหนในเร็ววันนี้แน่


Image Source : Courtesy of Vogue, Courtesy of Fucking Young!

The End of An Era at Céline

หลังจากข่าวลือที่เป็นกระแสอยู่พักใหญ่ที่ทำให้หลายๆคนหวั่นเกรงว่าจะเป็นความจริง มาวันนี้ถูกคอนเฟิร์มแล้วเรียบร้อยอย่าง Official ว่า Phoebe Philo เจ้าของเก้าอี้ Creative Director ที่ Céline จะก้าวลงจากที่นั่งหลังจากดำรงตำแหน่งมายาวนานเกือบทศวรรษ โดยคอลเลคชั่นสุดท้ายของเธอจะเป็นคอลเลคชั่น Fall-Winter 2018 ที่จะเดินทางมาให้เราได้ชมในฤดูกาล Spring ถัดไปนี้

hbs-phoebe-philo-leaving-celine-2016-cover-700x400

กว่า 10 ปีที่แล้ว Phoebe ได้รับมอบหมายตำแหน่งหัวเรือ ณ แบรนด์ฝรั่งเศสแห่งนี้หลังจากความสำเร็จที่เธอได้ทำไว้ที่ Cholé ในช่วงเวลา 5 ปี (2001-2006) ที่เธอประจำตำแหน่ง Creative Director ที่นั่น ก่อนจะพักงานชั่วคราวเป็นเวลาสองปีเพื่อทุ่มเทให้กับครอบครัว และกลับมาโลดแล่นที่ Céline เมื่อปี 2008 ด้วยคอลเลคชั่นเปิดตัวในฤดูกาล Resort ปี 2010 และนับจากจุดนั้นเองที่เธอได้เริ่มปฏิวัติการแต่งกายของผู้หญิงสมัยใหม่ (ด้วยอุดมการณ์ผู้หญิงถึงผู้หญิง) พร้อมๆกับยกระดับ Céline ให้ประสบความสำเร็จและทัดเทียมแบรนด์ลักชัวร์รี่อื่นๆในตลาดแฟชั่นระดับสูง และกลายเป็นหนึ่งแบรนด์ไอคอนิคที่มีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมแฟชั่นอย่างปฏิเสธไม่ได้

http3a2f2fprod-static9-net-au2f_2fmedia2fnetwork2fnl-beauty2faugust2f122fceline_debut
คอลเลคชั่นเดบิวต์ของ Phoebe ที่ Céline ฤดูกาล Resort 2010

“I just thought I’d clean it up. Make it strong and powerful—a kind of contemporary minimalism.” Phoebe กล่าวไว้กับ Vogue ถึงเบื้องหลังคอลเลคชั่นเดบิวต์ของเธอ ซึ่งโคว้ทนี้ดูจะกลายเป็นคำจำกัดความวิสัยทัศน์และสุนทรียทัศน์ต่อผลงานการออกแบบของเธอกับ Céline ตลอดสิบปีนี้ได้เป็นอย่างดี นับตั้งแต่คอลเลคชั่นแรกจนคอลเลคชั่นปัจจุบัน ผู้หญิงในแบบฉบับของ Céline นั้นสามารถพบเห็นได้ทั่วไปบนท้องถนนทั่วทุกเมืองใหญ่บนโลกได้อย่างชัดเจน เสื้อผ้าสไตล์มินิมัลลิสต์ งานตัดเย็บและคัตติ้งคุณภาพเยี่ยม ไปจนถึงงาน Tailoring และเสื้อผ้าสไตล์ Masculine ที่กลายเป็นหนึ่งในจุดเด่นของแบรนด์ ส่งผลให้คีย์เวิร์ดอย่าง Sophisticated, Minimal, Contemporary ไปจนถึงการผสมผสานระหว่าง Masculine-Feminine กลายเป็นคติและคำขวัญประจำตู้เสื้อผ้าของเวิร์คกิ้งวูแมนในศตวรรษที่ 21 ด้วยอิทธิพลของเธอทั้งนั้น ซึ่งนอกจากผลลัพท์ที่ส่งผลแก่ผู้หญิงทั่วโลกแล้ว ผลลัพท์ทางด้านธุรกิจต่อตัวแบรนด์เองนั้นก็นับว่าประสบความสำเร็จไม่เบา (อ้างอิงจาก BoF ยอดขายรายปีของ Céline เพิ่มขึ้นจาก $236 ล้านเหรียญ ขึ้นถึงกว่า $800 ล้านเหรียญภายในเวลาสิบปีที่ Phoebe ดำรงตำแหน่ง) ก่อนหน้าที่เธอจะรับหน้าที่นี้ Céline เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ Struggle และประสบปัญหาด้าน Identity กับสไตล์พอสมควร ทั้งการเปลี่ยนผ่านมือของดีไซน์เนอร์ถึงสามคนในช่วงเวลาไม่ถึง 5 ปีภายหลัง Michael Kors ออกจากแบรนด์ในปี 2004 แต่แม้แต่ภายใต้บังเหียนของ Kors เอง ก็ไม่สามารถเทียบเคียงกับความสำเร็จที่ Phoebe สร้าง ภายใต้จำนวนชั่วโมงการทำงานที่ใกล้เคียงกันได้เลย (Kors ดำรงตำแหน่งถึง 7 ปี ตั้งแต่ 1997-2004)

ภายใต้การควบคุมของ Phoebe Philo ห้องเสื้อ Céline นับได้ว่ากลายเป็นผู้ชี้ชะตาและสร้างเทรนด์การแต่งกายแก่ตลาดแฟชั่นมาแต่ไหนแต่ไร Phoebe เปรียบเสมือนเป็นผู้ทำนายแนวโน้มแฟชั่นล่วงหน้าก่อนดีไซน์เนอร์คนอื่นๆซีซั่นแล้วซีซั่นเล่า ถ้าจะให้ยกตัวอย่างก็ทั้งการหยิบนำรองเท้าผ้าใบมาสวมใส่กับเสื้อผ้าฟอร์มอล, กางเกง Track Pants พร้อมแถบยาวด้านข้างที่ตอนนี้ยังคงเป็นกระแสไม่ตก, รองเท้าเฟอร์ที่ทุกวันนี้เห็นกันให้ว่อนในตลาดทั้งแบรนด์เล็กและใหญ่, ลายปริ้นต์แบบผ้าพันคอบนเสื้อผ้าไอเทมชิ้นต่างๆ, การยกระดับผ้าถุงกระสอบขึ้นมาเป็นเสื้อโค้ท, เสื้อโค้ทที่ถูกสวมให้ตกออกจากไหล่, และอีกมากมายที่ล้วนแล้วก่อกำเนิดขึ้นที่แบรนด์แห่งนี้ก่อน หลังจากนั้นจึงกลายเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นๆหยิบยกไปใช้กันในเวลาต่อมา เป็นการตอกย้ำความโดดเด่นและเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ทุกคนในวงการแฟชั่น ตั้งแต่ดีไซน์เนอร์แบรนด์ใหญ่, แบรนด์ตลาดแมสอย่าง Zara, ดีไซน์เนอร์หน้าใหม่ ไปจนถึงนักเรียนแฟชั่นทั่วทั้งโลก ต่างชื่นชมและหยิบยกเอาผลงานของ Phoebe เป็นแรงบันดาลใจ (หรือจะตั้งใจคัดลอกมาเลยก็ตามสำหรับบาง case) กันถ้วนหน้า

คอลเลคชั่น Spring Summer 2018


คำถามที่ตามมาหลังจากนี้ก็คือ Phoebe จะย้ายไปอยู่ที่แบรนด์ไหนต่อไป? ตอนนี้ดูเหมือนจะยังไม่มีท่าทีที่แน่ชัด แต่ทุกสำนักข่าวล้วนให้คำตอบไปในทิศทางเดียวกันว่าเธอคงกลับไปอยู่ที่บ้านเกิดเกาะอังกฤษและพักผ่อนใช้เวลาส่วนตัวกับครอบครัวเหมือนกับที่เธอเคยเมื่อคราวหลังจากลาจากตำแหน่งที่ Chloé นั่นเอง ซึ่งนับว่าคงเป็นประโยชน์และผลดีต่อเธอที่จะได้มีเวลาให้กับตัวเองและชีวิตส่วนตัว หลังจากการทำงานมาอย่างยาวนานกว่าสิบปีเต็ม (แม้จะมีข่าวออกมาว่าในคอลเลคชั่นที่ผ่านมาเธอได้ลดบทบาทของตนเองลงเพื่อให้ทีม In House ได้มีบทบาทการออกแบบมากขึ้น) แต่ถึงกระนั้นก็มีการพูดถึงความเป็นไปได้ว่าหากเธอจะกลับมาลงสนามหลังจากการพักเบรคของเธอ แบรนด์ใดจะโชคดีได้ต้อนรับดีไซน์เนอร์คนเก่งคนนี้ไป Burberry เป็นแบรนด์แรกที่ทุกคนลือ (และแอบหวัง) ให้เป็นผู้โชคดีที่ว่า หลังจากการประกาศบอกลาตำแหน่งของ Christopher Bailey ในปีนี้ แบรนด์เชื้อสายอังกฤษแท้ๆแห่งนี้ยังคงไร้ผู้สืบทอดตำแหน่ง Creative Director นอกจากนั้นยังมีห้องเสื้อ Azzedine Alaïa ที่พึ่งผ่านพ้นการสูญเสียผู้ก่อตั้งและดีไซน์เนอร์ผู้เป็นที่รักของทุกคนไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา สื่อเจ้าหนึ่งเล็งเห็นว่านี่อาจจะเป็นบ้านใหม่ของ Phoebe ก็เป็นได้ คำถามที่ยังไร้คำตอบนี้คงทำให้เราต้องรอลุ้นกันอีกพักใหญ่ว่าเราจะได้เห็นผลงานของ Phoebe Philo อีกครั้งที่ไหน หรือไม่นี่อาจจะเป็นการบอกลาวงการแฟชั่นตลอดไปของเธอก็ได้

แน่นอนว่าอีกคำถามที่เราจะลืมถามไม่ได้ แล้วใครจะขึ้นมานั่งบนเก้าอี้ Creative Director ที่ Céline ต่อจาก Phoebe? งานนี้ข่าวลือได้เสนอชื่อดีไซน์เนอร์ถึง 4 เจ้า (5 ชื่อ) ได้แก่ Natasa Cagalj ผู้ดำรงตำแหน่ง Creative Director ที่ Ports 1961 อยู่ ณ ขณะนี้ และยังเคยเป็น Design Director ที่ Stella McCartney มาก่อน, Ilaria Icardi ทำงานในตำแหน่ง Design Director อยู่ที่ Victoria Beckham, Simon Porte Jacquemus แห่งแบรนด์ปารีเซียงชิครุ่นใหม่ Jacquemus และสุดท้ายสองคู่หู Jack McCollough & Lazaro Hernandez จากแบรนด์นิวยอร์คเจ้าของความคูลที่พึ่งย้ายบ้านมาอยู่ในปารีสหยกๆอย่าง  Proenza Schouler ซึ่งไม่ว่าใครก็ตามแต่ที่โชคดีได้รับเลือกให้มารับตำแหน่งต่อจาก Phoebe เพื่อเริ่มยุคใหม่ของแบรนด์ปารีสชิคแบรนด์นี้ แน่นอนว่าเธอหรือเขาคนนั้นต้องรับงานที่ท้าทายไม่เบาที่จะต้องสามารถเติมเต็มช่องว่างขนาดใหญ่ที่ Phoebe ทิ้งไว้ให้เต็มให้ได้ โดยระหว่างนี้ที่เรายังไม่รู้ชะตาของ Céline หลังจากซีซั่น Fall Winter 2018 ทีม In House ของแบรนด์จะดำเนินงานในช่วงไร้หัวเรือนั้นเอง

นอกจาก Phoebe Philo ที่บอกลา Céline แล้ว ในปีนี้ยังมีดีไซน์เนอร์ชื่อใหญ่อีก 4 คนที่บอกลาตำแหน่งของตนเองเช่นเดียวกัน Christopher Bailey จาก Burberry, Jonathan Saunders จาก Diane von Fürstenberg , Riccardo Tisci จาก Givenchy (ถูกแทนที่แล้วโดย Clare Waight Keller จาก Chloé) และ Nicola Formichetti จาก Diesel

ในฐานะที่ผู้เขียนชื่นชมและชื่นชอบผลงานของ Phoebe ที่ Céline มายาวนาน การบอกลายุคของผู้หญิงคนนี้จึงนับได้ว่าน่าเสียดาย แม้สไตล์ส่วนตัวของผู้เขียนจะไม่ได้ตรงกับสไตล์ของเธอ แต่ Céline โดย Phoebe ทำให้ผู้เขียนนั้นตื่นเต้นเสมอทุกครั้งที่คอลเลคชั่นใหม่ปรากฏออกมา ด้วยความเฉพาะตัว ความสดใหม่และความ Innovative ในด้านดีไซน์ ความกล้าที่จะใช้สี ความสนุกสนานที่แฝงอยู่ในงานออกแบบ ทุกอย่างล้วนแล้วทำให้คอลเลคชั่นของ Phoebe Philo ที่ Céline เป็นหนึ่งในผลงานแฟชั่นที่ดีที่สุดแห่งยุคนี้เลยทีเดียว ด้านล่างนี้ผู้เขียนขอทิ้งท้ายและอำลายุคที่ยิ่งใหญ่นี้ด้วยคอลเลคชั่นและลุคที่ดีที่สุดของ Céline ในมุมมองและรสนิยมของผู้เขียนเอง

Spring-Summer 2011

Fall-Winter 2012/2013

Fall-Winter 2013/2014

Fall-Winter 2014/2015

Spring-Summer 2016

Spring-Summer 2017

Fall-Winter 2017/2018

Spring-Summer 2018


Image Source : Courtesy of Vogue

SaveSaveSaveSaveSaveSaveSaveSave

Sweet Dreams (Are Made of These)

สัปดาห์แรกของเดือนกันยายนได้ผ่านไปแล้ว และนั่นหมายถึงจุดเริ่มต้นของฤดูกาลแฟชั่นฤดูกาลใหม่ สำหรับ Spring-Summer ปี 2018 แม้จะพึ่งผ่านไปได้เพียงเล็กน้อย แต่โชว์ที่ทุกคนต่างตั้งตารอคอยมามากกว่าหกเดือนได้ผ่านพ้นไปเมื่อไม่กี่วันนี้เอง ถึงกระนั้น ควันหลงและเสียงซุบซิบพูดถึงยังคงเป็นกระแสอยู่เป็นวงกว้าง และสำหรับโชว์ที่เรากำลังพูดถึงอยู่นั้นก็คงเป็นอะไรไปไม่ได้ นอกจากโชว์ครั้งที่ 2 ของ Raf Simons ที่ Calvin Klein บ้านแห่งใหม่บนผืนแผ่นดินอเมริกาของเขานั่นเอง

ท่ามกลางบรรยากาศที่อึดอัดและหม่นหมองของความวุ่นวายทางด้านการเมืองของประเทศ อีกทั้งหลังจากแบรนด์หัวเรือด้านครีเอทีฟของ New York Fashion Week ทั้ง Proenza Schouler และ Rodarte ได้โบกมือบอกลาย้ายสถานที่โชว์ไปยังปารีส ไหนจะการ Go Out of Business ของแบรนด์อันเป็นที่รักของผู้หญิงนิวยอร์คอย่าง Thakoon, ความสับสนของทิศทางใหม่ที่ยังไม่ลงรอยภายใต้บ้านหลังใหม่ของ DKNY ที่ G-III แน่นอนว่าพลังของเมืองแฟชั่นเมืองนี้แทบจะเหลือน้อยเต็มที นั่นทำให้สายตาของทุกคนต่างเพ่งเล็งไปยังแบรนด์ใหญ่ที่ยังหลงเหลืออยู่ไม่กี่แบรนด์ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็ไม่ใช่ใครที่ไหน…

ในซีซั่นที่ 2 หลังจากการรับตำแหน่งของ Raf Simons ณ แบรนด์มินิมัลลิสต์ที่อยู่คู่กับมหานครนิวยอร์คมามากกว่า 4 ทศวรรษ ภาพลักษณ์ของ Calvin Klein ที่แม้ในคอลเลคชั่นแรกของเขาจะยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่นัก แต่ในคอลเลคชั่นนี้ เราได้เห็นแบรนด์อเมริกันยักษ์ใหญ่ ถูกรื้อแปลงโฉมกลายเป็นห้องแล็ปทดลองทางด้านดีไซน์และคอนเซ็ปต์ของ Raf อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยความที่ตัว Raf นั้นเปรียบเสมือนผู้มาเยือนจากต่างแดน และได้ใช้มุมมองของ “คนนอก” (Outsider) ในการตีความและถ่ายทอดความเป็นอเมริกันชนบวกกับวัฒนธรรมอเมริกันออกมาผ่านเสื้อผ้าที่แม้ว่าภายนอกจะดูเรียบง่าย แต่กลับแฝงไปด้วยความหมายที่ตรงตัวและลึกซึ้งไปในเวลาเดียวกัน

หัวข้อที่ Raf หยิบยกมาใช้คือการตีความคำว่า American Horror และ American Dream ไปพร้อมๆกัน ในขณะที่ดีไซน์เนอร์คนอื่นๆมักมองหาแต่ความสวยงามในส่วนของ American Dream แต่ Raf กลับดำดิ่งเข้าสู่ความน่ากลัวและดิบเถื่อนของ American Horror ผ่านภาพยนตร์สยองขวัญแห่งจอเงิน Hollywood (ซึ่ง Ironically คือสถานที่ในฝันที่ทุกคนเข้าไปเพื่อสานฝัน American Dream ของตัวเองกันทั้งนั้น) โดยถูกคัดเอา Element ต่างๆมาอยู่ทั้งบนเสื้อผ้า ไปจนถึงฉากหลังบรรยากาศของโชว์ ตั้งแต่ภาพยนตร์คลาสสิคมาสเตอร์พีซอย่าง The Shining (1980), หนังสยองขวัญวัย High School อย่าง Carrie (1976), หรือตัวละคร Jason Voorhees จาก Friday the 13th (2009) ก็มาร่วมโลดแล่นอยู่บนรันเวย์ด้วยเช่นกัน

จาก Carrie (1976) ชุดผ้าสีแดงสดให้ความรู้สึกเสมือนเลือดหมูที่อาบอยู่บนร่างกายของ Carrie

Jason Voorhees จาก Friday the 13th (2009) ถูกจับยัดลงใส่ทรงรองเท้าส้นสูง

ชุดเสื้อคลุมไนลอนที่ละม้ายคล้ายและทำให้นึกถึง Patrick Bateman ใน American Psycho (2000)


นอกจาก Element ที่ได้มาจากตัวละครต่างๆ เรายังพบเห็น Element ที่เกี่ยวข้องกับการฆาตรกรรม ความตาย และอาชญากรรมไปทั่วทั้งคอลเลคชั่น ตั้งแต่รอยเลือดที่โผล่อยู่ตามลายพิมพ์และสีของผ้าชนิดต่างๆ ผ้าไนลอนใยสังเคราะห์สีดำมันวาวที่ดูไม่ต่างอะไรกับถุงดำ

_KLE0721


แม้คอลเลคชั่นนี้จะถูกครอบครองโดยความน่ากลัวและหนังสยองขวัญ แต่ Raf ไม่ลืมที่จะผสมผสานความขบขันและการเสียดสีวัฒนธรรมอเมริกันผ่านทั้งสิ่งที่ตรงตัว และไม่ตรงตัว ซึ่งอย่างแรกก็คือการนำเอาสิ่งที่ทั้ง Cliché และ Stereotypes ของความเป็นอเมริกันแบบตรงๆตั้งแต่ลุค Cowboy ที่ถูกนำเสนอผ่านเสื้อเชิ้ตผ้าซาตินตัดต่อ Yoke ที่ไหล่หลากสี, ปอมปอมของเหล่าเชียร์ลีดเดอร์วัย High School ที่ถูกนำมาปะติดลงบนชุดอย่างสนุกสนานด้วยสีสันต่างๆ ไปจนถึงชุดทรวดทรงไอคอนิคเอวคอดกับกระโปรงวงกลมจากทศวรรษที่ 50’s ของผู้หญิงแม่บ้านอเมริกันในยุคนั้น สำหรับสิ่งที่ไม่ตรงตัว Raf ได้เลือกนำเอาลัทธิทางศิลปะที่ Represent สังคมและความเป็นอเมริกันได้ดีที่สุดอย่าง Pop Art มาใช้ (นับตั้งแต่คอลเลคชั่นแรกไปจนถึงแอดแคมเปญใหม่ของ Calvin Kleinโดย Raf เราดูจะเห็นแนวคิด Pop Art คงอยู่กับแบรนด์นี้ไปอีกพักใหญ่) ภาพพิมพ์ที่ปรากฏบนเสื้อผ้าก็ไม่ได้มาจากใครที่ไหน Andy Warhol ผู้เป็นชื่อแรกที่จะผุดขึ้นมาเมื่อพูดถึงลัทธินี้นั่นเอง

_KLE0383

Cowboy, แม่บ้านยุค 50’s และ ปอมปอมเชียร์ลีดเดอร์


ลายพิมพ์จากภาพชุด Death & Disaster ของ Andy Warhol และภาพถ่าย Dennis Hopper จากภาพยนตร์เรื่อง Easy Rider (1969)


ความรู้สึกและบรรยากาศโดยรวมของ Calvin Klein ภายใต้อำนาจของ Raf ดูห้อมล้อมและเต็มไปด้วยความ Contemporary ร่วมสมัย แต่ถึงกระนั้นบรรยากาศในโชว์ก็คละคลุ้งไปด้วยความ Nostalgic ผ่านผู้คนที่นั่งอยู่ในงาน ทั้ง Original Muse ของแบรนด์อย่าง Brooke Shields, Kyle MacLachlan จากซีรี่ย์ Horror แห่งยุค 90’s Twin Peaks, Millie Bobby Brown จากซีรี่ย์ย้อนยุค Stranger Things, Paris Jackson, และที่ไม่พูดถึงไม่ได้ Kaia Gerber ลูกสาวของออริจินัล 90’s ซุปเปอร์โมเดล Cindy Crawford

Brooke Shields, Millie Bobby Brown, และ Paris Jackson

Calvin-Klein-RTW-Spring-2018-Collection-at-NYFW

Kaia Gerber


โดยรวมแล้ว การตีความและมองคำว่า American Horror และ American Dream รวมทั้ง American Identity ในแบบฉบับของ Raf Simons ถูกนำเสนอออกมาหลากหลายและเต็มไปด้วยเรื่องราวที่ดูแล้วสดใหม่และแปลกตา ในที่นี้อาจจะหมายถึงความรู้สึกแปลกตาที่ใครหลายๆคนไม่คาดคิดว่าจะได้รับจากแบรนด์มินิมัลลิสต์แห่งนี้ ถึงอย่างนั้นก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่า ท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองอันวุ่นวายและกดดันภายใต้การปกครองของ Donald Trump คอลเลคชั่นนี้ Raf เลือกช่วงเวลาได้เหมาะเจาะเหมาะสมสำหรับการนำเสนอ American Horror Story ภาคพิเศษฉบับยุคใหม่ของ Calvin Klein ให้แก่เราทุกคนได้ร่วมรับชมไปพร้อมๆกัน


Image Source : Courtesy of Vogue

SaveSave

SaveSaveSaveSave

Past, Present, Future = Gucci

โชว์ของ Gucci ที่พึ่งผ่านไปจาก Milan Fashion Week ฤดูกาล Fall-Winter 2017 นั้นเป็นอีกครั้งที่ Alessandro Michele ตอกย้ำกับพวกเราทุกคนถึงภาพลักษณ์ที่หนักแน่นและแข็งแรงของ Gucci ยุคใหม่ และดูเหมือนว่าแนวโน้มมีแต่จะทวีมากขึ้นไปในอนาคตเสียด้วยซ้ำ แม้การคาดเดาของหลายๆคนที่ว่าสไตล์อันจำเจของ Michele คงอยู่เป็นกระแสต่อไปอีกได้ไม่นาน แต่ดูเหมือนพวกเขาเหล่านี้ต้องคิดใหม่เสียแล้ว นานวันเข้าคอลเลคชั่นใหม่ที่ Gucci มีแต่จะได้รับความสนใจจากสื่อและลูกค้าเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นทุกซีซั่น หันไปทางไหนทุกวันนี้เราก็เห็น Gucci ครองพื้นที่สื่อทุกทิศทุกทาง กินวงกว้างครบทุกแขนงสาขา ตั้งแต่บนถนน Street Style ในหัวเมืองแฟชั่น ไปจนถึงพรมแดง Red Carpet ใน Hollywood จากนักร้องสาวอินดี้อย่าง Florence Welch ไปจนถึงบอยแบนด์เคป๊อบรุ่นใหม่ NCT Dream จากเฟมินิสต์ไอคอนอย่าง Beyonce และลูกสาว Blue Ivy ไปจนถึงนางแบบทรานส์ไอคอน Hari Nef สไตล์อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่เกิดขึ้นมาอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 ปีนี้กลายเป็นขวัญใจของทุกๆคนภายในพริบตา

พูดถึงคอลเลคชั่นนี้ หากเราลองตั้งคำถามกันเล่นๆว่า วันนึงถ้ามนุษย์ต่างดาวนำยานอวกาศมาลงจอดบนโลกของเรา และต้องการที่จะแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับเราผ่านอะไรสักอย่างนึงโดยที่สามารถบอกเล่าความเป็นมา อารยธรรม องค์ความรู้ ความสามารถ และความหลากหลายของเผ่าพันธ์มนุษย์ตลอดระยะเวลาที่เกิดขึ้นมาบนดาวเคราะห์ดวงนี้ได้อย่างง่ายๆ รวบรัด และสวยงาม เราจะเอาอะไรไปนำเสนอดี? คำตอบคือคอลเลคชั่นใหม่ที่ Gucci นี้แหละ ที่ดูจะเหมาะสมและตอบโจทย์ที่สุดแล้ว

คอลเลคชั่นนี้ประกอบขึ้นจากเศษส่วนแรงบันดาลใจจำนวนมากอันกระจัดกระจายไปตามสถานที่ต่างๆบนโลกและช่วงเวลาในอดีตมากมาย ย้อนเวลากลับไปตั้งแต่ยุคเรเนซองค์ ยุคโรโคโค่ ยุควิคตอเรียน ผ่านมาถึงช่วงยุค 1970’s – 1980’s เรื่อยมาจนถึงปี 1990’s ช่วงเวลาต่างๆนี้ถูกนำเสนอผ่านโครงชุด ดีเทลส์ การตกแต่ง และบรรยากาศที่คละคลุ้งอยู่บนเสื้อผ้า ทั้งยังมีที่มาจากแหล่งกำเนิดอารยธรรมต่างๆตั้งแต่จีน ญี่ปุ่น อเมริกากลาง เกาะอังกฤษ ไปจนถึงฝรั่งเศส เมื่อนำทุกอย่างนี้มาใส่เครื่องปั่นผสมรวมกัน ตกผลึกออกมาเป็นเสื้อผ้า ผลลัพธ์ได้ออกมาเป็นคอลเลคชั่นเสื้อผ้าขนาดใหญ่ทั้งชายและหญิงที่มากถึง 119 ลุค มากไปกว่านั้น นอกจากความหลากหลายของอารยธรรมมนุษย์ Michele ไม่ลืมนำเอาส่วนใหญ่อีกส่วนที่มีความสำคัญพอๆกับมนุษย์ต่อโลกใบนี้ นั่นก็คือธรรมชาติมาประกอบร่วมด้วย สิงหาราสัตว์และต้นไม้ดอกไม้ใบหญ้าหลากหลายเผ่าพันธุ์ถูกหยิบนำมาปรุงแต่งและใช้ประดับเป็นลวดลายอย่างสวยงามและไร้ที่ติ ยกขบวนมาทั้งผีเสื้อ ค้างคาว แม้กระทั่งซาลามานเดอร์ก็กลายมาเป็นลายปริ้นต์บนชุดเดรสซึ่งดูแล้วทั้ง Kitsch ทั้งเก๋ไปด้วยกัน

พาเหรดเสื้อผ้าที่มีตั้งแต่ชุดกระโปรงยาวไหล่ตั้งสีม่วง ชุดสูทกางเกงผู้ชายขาบาน กระโปรง Maxi ลายพิมพ์ดอกไม้ กี่เพ้าสีสด ลุคสเว้ตเตอร์กางเกงขาสั้นแบบเด็กเนิร์ด ไบค์เกอร์แจ๊คเก็ตสไตล์พั้งค์ ไปจนถึงชุดว่ายน้ำ One Piece สีเขียวสว่าง ทั้งหมดนี้ถูกสวมใส่บนนางแบบและนายแบบมากหน้าหลายตาหลากหลายชาติพันธุ์ นี่ยังเป็นอีกหนึ่งข้อความที่ถูกซ่อนไว้เกี่ยวกับความหลากหลายของเผ่าพันธุ์มนุษย์ แม้ความแตกต่างระหว่างเราจะมากเพียงใด สุดท้ายแล้วเราคือสปีชี่ส์เดียวกัน ใช้พื้นที่บนโลกใบนี้เป็น “บ้าน” ร่วมกัน มีอารยธรรมร่วมกัน และแน่นอน มีอนาคตที่ต้องก้าวไปด้วยกัน (ถ้าจะมองให้ลึกไปมากกว่านี้ เรายังสามารถโยงไปให้ถึงเรื่องวิกฤตการเมืองที่กำลังคุกรุ่นที่ฝั่งอเมริกาได้อีกด้วย ถึงหัวข้อต่างๆตั้งแต่ Global Warming, Immigration Crisis, และความหลากหลายทางศาสนา เพศ และเชื้อชาติ แต่ดูเหมือนถ้าวกเข้าเรื่องการเมืองแล้ว บทความนี้จะยาวเป็นหางว่าวแน่ๆ)

การมองไปสู่อนาคตของ Alessandro คือการมองย้อนกลับไปในอดีต เขาเองได้บอกใบ้ไว้ผ่านหนึ่งในข้อความที่ Coco Capitan ผู้มาร่วม Collaborate ในคอลเลคชั่นนี้ได้เขียนไว้บนร่มญี่ปุ่นคันหนึ่งว่า “Tomorrow is now Yesterday” มุมมองและวิสัยทัศน์ต่อแฟชั่นในอนาคตนั้นก่อเกิดขึ้นมาจากประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น ไม่เฉพาะแค่กับ Michele แต่กับทั้งโลกแฟชั่นเลยต่างหาก การวนลูปของเทรนด์ที่มาแล้วก็จากไป รอคอยอีกครั้งที่จะกลับมาโลดแล่นใหม่บนแฟชั่นวี้คอีกครั้ง

คอลเลคชั่นนี้ยังเป็นคอลเลคชั่นแรกที่รวมเอาโชว์ของทั้งหญิงและชายเข้าด้วยกัน ความชัดเจนของสไตล์ Gender Fluid ที่ Gucci จึงแรงกล้าขึ้นมาอีกขั้น และยังเพิ่มความน่าตื่นเต้นให้กับเสื้อผ้าผู้ชายได้อีกหลายเท่า แต่ก็นับเป็นเรื่องเศร้าสำหรับ Mens Fashion Week ใน Milan ที่ได้ขาดหนึ่งในแบรนด์ตัวช่วยเสริมสร้างสีสันและพลังงานสดใหม่ให้กับช่วงสัปดาห์แฟชั่นวี้คอันน่าเบื่อและจำเจไป


Image Source : Courtesy of Vogue

Digital Identity vs. Real Self at Maison Margiela

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคนี้ สิ่งที่มีบทบาทกับชีวิตประจำวันของมนุษย์มากที่สุด ยิ่งโดยเฉพาะกับคนในอุตสาหกรรมแฟชั่นแล้ว คือ โซเชียลมีเดีย” สถานที่กว้างใหญ่บนโลกอินเตอร์เน็ทที่เป็นจุดศุนย์กลางรวบรวมข้อมูลและการสื่อสารทุกอย่างเข้าไว้ด้วยกัน สถานที่ที่นอกจากจะกินพื้นที่ครอบคลุมโลกทั้งใบแล้ว ยังย่อเอาพื้นที่ทั้งหมดนี้เข้าหากันภายในเวลาเพียงเสี้ยววินาที ผ่านช่องทางเข้าสู่สถานที่แห่งนี้ที่มีให้เลือกนับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Instagram, ไปจนถึง Snapchat แอพพลิเคชั่นที่เป็นประตูเข้าสู่โซเชียลมีเดียซึ่งกลายเป็นแอพพลิเคชั่นพื้นฐานบนโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตของทุกคนไปโดยปริยาย ถ้าจะให้เจาะจงเฉพาะกลุ่มมากกว่านี้ก็คงเป็นเหล่าวัยรุ่นในเจเนเรชั่น Z หรือครอบคลุมวงกว้างไปถึงทั้งรุ่น Millenials ก็ว่าได้

กระนั้นแล้ว คนในเจเนเรชั่นนอกเหนือจากกลุ่ม Millenials ก็หนีไม่พ้นปรากฏการณ์โลกโซเชียลมีเดียนี้ได้ ผู้ใหญ่ที่เคยห้ามเด็กเล่นโทรศัพท์เมื่อสิบปีก่อน กลับกลายมาเป็นฝ่ายถูกห้ามด้วยลูกของตัวเองแทนในวันนี้เสียแล้ว นั่นรวมไปถึงดีไซน์เนอร์อย่าง John Galliano ที่ Maison Margiela ผู้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงอิทธิพลของโซเชี่ยลมีเดียและเทคโนโลยีไปไหนได้ อันที่จริงแล้ว เขากลับสนใจและหยิบนำเอามันมาเป็นแรงบันดาลใจของคอลเล็คชั่น Artisanal นี้เลยต่างหาก

_mar0039

คอลเลคชั่น Artisanal ซีซั่น Spring Summer นี้ที่ Maison Margiela คือการตีความโซเชี่ยลมีเดียในแบบของ John Galliano เทคโนโลยียุคใหม่นี้ถูกมองมุมกลับปรับมุมมองและถูกคิดต่อยอดสร้างสรรค์ใหม่ให้กลายเป็นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่นอกจากจะสวยงามแล้วยังเต็มไปด้วยความหมายและสุนทรียภาพประหนึ่งบทประพันธ์คลาสสิคที่มีเนื้อความเกี่ยวกับความถ่องแท้ของสถานที่ขนาดใหญ่แห่งนี้ ความเป็นจริงที่ว่าในจำนวนผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียมากหน้าหลายตาที่เราพบเจอใน Facebook หรือ Twitter แท้ที่จริงแล้วอาจเป็นเพียงบัญชีผู้ใช้ที่ไม่มีอยู่จริง หากแต่เป็นการสังเคราะห์ตัวบุคคลขึ้นผ่านภาพลักษณ์ดิจิตอล หรือถ้าจะมองให้ใกล้ตัวขึ้นมาหน่อย ขนาดเราๆกันเอง จะลงรูปใน Instagram เรายังต้องเพิ่มฟิลเตอร์เพื่อเสริมสร้างความงดงามให้กับรูปภาพของเราเลย ซึ่งนั่นแหละคือสิ่งที่ Galliano ต้องการจะสื่อสารผ่านคอลเลคชั่นนี้ กับสิ่งที่เรียกว่า “Filter” แม้จุดประสงค์ในการใช้ฟิลเตอร์ของแต่ละคนจะแตกต่างกัน บ้างต้องการทำให้ใครอีกคนประทับใจ บ้างต้องการซ่อนความเปราะบางและอ่อนแอของตัวเอง แต่ผลลัพท์ที่ได้คือภาพปรุงแต่งที่บิดเบือนแก่นแท้และข้อเท็จจริงที่เลี่ยงไม่ได้ในโลกความเป็นจริง

เทคนิค Décortiqué


Galliano ถ่ายทอดและตีความฟิลเตอร์ออกมาผ่านเทคนิคต่างๆ ที่เห็นได้ชัดคือเทคนิคเฉพาะซึ่งเขาเรียกมันว่า “Décortiqué” เทคนิคสลายโครงสร้างเสื้อผ้าที่ถูกตัดเย็บเสร็จเรียบร้อยด้วยการฉลุตัดออกให้เหลือเพียงแค่ส่วนเส้นตะเข็บหรือรอยต่อจนกลายเป็นเพียง “กรอบ” หรือขอบรอบนอกของเสื้อผ้าดีๆนั่นเอง ประหนึ่งกรอบรูปที่ไร้ผืนผ้าใบด้านใน ทั้งเชิ้ต เสื้อโค๊ท และเดรสต่างถูก Décortiqué จนสามารถมองทะลุผ่านเข้าไปสู่เลเยอร์ด้านใน เหมือนกับเป็นสัญลักษณ์ว่า Galliano ได้ทลายฟิลเตอร์ลงจนมองเห็นสิ่งที่อยู่ภายใต้การปรุงแต่งต่างๆนั่นเอง แท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่ติดตัวและบ่งบอกถึงความเฉพาะเจาะจงส่วนบุคคลคือความทรงจำและอารมณ์ของเราต่างหาก มากกว่านั้นเขายังมีการเล่นกับการสวมทับกันของเสื้อผ้าหลายชิ้นเพื่อสร้างเลเยอร์ให้กับเครื่องแต่งกาย แทนได้กับการ Over Filter ที่พบเห็นได้มากมายใน Instagram และ Snapchat ปัจจุบัน

_mar0355

ไฮไลท์ของโชว์นี้คือโค๊ทขาวตัวยาวที่ถูกประดับด้วยภาพพอร์ทเทรทใบหน้าของหญิงสาวซึ่งถูกสร้างขึ้นจากการเดรปและปักผ้าตาข่ายสีดำให้เกิดเป็นภาพขึ้นอย่างปราณีต ซึ่งเป็นการร่วมงานกับศิลปินนาม Benjamin Shine อดีตนักศึกษาแฟชั่นจากสถาบัน Central Saint Martins ผู้สร้างผลงานผ่านการเดรปให้เกิดรูปภาพต่างๆโดยเฉพาะใบหน้า ผลงานของ Benjamin ถูกใจ Galliano เข้าจนทำให้เขาได้จับพลัดจับผลูเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของคอลเลคชั่นนี้ นอกจากนั้นแล้วยังมีโค๊ทผ้าตาข่ายสีขาวตกแต่งด้วยลายปักล้อเลียนฟิลเตอร์ฮอตฮิตใน Snapchat ไปจนถึงการปักเอเลเม้นต์อย่างเช่น อิโมจิหน้าร้องไห้ หรือหน้าส่งจูบ ที่น่าขันคือถึงแม้นี่คือการเสียดสีและเหน็บแนมโซเชี่ยลมีเดีย แต่ลุคไฮไลท์เหล่านี้กลับถูกใจชาวอินเทอร์เน็ตจนยอดแชร์พุ่งกระฉูดและหยุดไม่อยู่ทันทีหลังจากโชว์ได้จบลง

ภาพรวมของคอลเลคชั่นนี้ยังแอบแฝงความรู้สึก Insecurity ของมนุษย์บนโลกโซเชี่ยลมีเดียเข้าไปด้วย ความเปราะบาง ความอ่อนแอ ความละเอียดอ่อนทางด้านอารมณ์ ต่างเป็นสิ่งที่ใครหลายๆคนพยายามใช้ “ฟิลเตอร์” เพื่อปิดบังและแอบซ่อนพวกมัน แต่แท้ที่จริงแล้วภายใต้ภาพที่เราสังเคราะห์ขึ้นบนโลกดิจิตัล คือสิ่งเหล่านี้นี่แหละ ที่เป็นส่วนพื้นฐานส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมนุษย์ ทั้งคอลเลคชั่นใช้สามสีคลาสสิคอย่าง ขาว ดำ และแดงในการเล่าเรื่องและสื่อสารได้อย่างมีพลังอีกด้วย

ดูเหมือนว่าเวลาที่ผ่านไป ดีเอนเอด้านมโนทัศน์ของ Maison Margiela กับวิสัยทัศน์และสุนทรียทัศน์ตามจิตวิญญาณของ John Galliano มีแต่จะหล่อหลอมรวมออกมาเป็นแม่พิมพ์ที่ไร้ตำหนิ ทั้งยังเป็นแรงขับเคลื่อนที่เพิ่มความน่าตื่นเต้น พลังงาน และมุมมองอย่างสดใหม่ที่ต่างออกไปให้กับอุตสาหกรรมแฟชั่น ซึ่งคงปฎิเสธไม่ได้ว่าค่อนข้างน่าเบื่อในทุกวันนี้ แม้แนวคิดของเขาจะดูเจ้าบทเจ้ากลอนและแฝงไปด้วยอารมณ์อย่างมากล้นจนอาจจะเกินจริตและรสนิยมของใครหลายๆคน แต่นี่ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการในเวลานี้หรอกเหรอ? ในห้วงของความวุ่นวายและความกดดันทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ผลงานแฟชั่นที่มีเนื้อหาราวกับสุขนาฎกรรมที่ทั้งน่าขัน งดงามและแสดงความเห็น พร้อมทั้งสร้างมุมมองต่อสังคมไปในขณะเดียวกัน ดูเหมาะที่จะเป็นส่วนช่วยผ่อนคลายและสร้างความอภิรมณ์ให้กับเราได้เป็นที่สุด


Image Source : Courtesy of Vogue

for Birls Magazine @ http://www.birlsmag.com


See-Now-Buy-Now, New System or Just Trend?

ภายใต้โลกที่เต็มไปด้วยความโกลาหลและความรวดเร็วของข้อมูลที่ถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันผ่านอินเตอร์เน็ตและโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค “ระบบแฟชั่น” ที่เรารู้จักกันยังสามารถดำเนินต่อไปได้อีกหรือไม่ ท่ามกลางการแข่งขันกันของแบรนด์ทั้งเล็กและใหญ่เพื่อดึงความสนใจ(ยอดขาย)จากลูกค้าให้ได้มากที่สุด ระบบแฟชั่นที่ว่านี้ดำเนินมาอย่างยาวนานจนกลายเป็นแพทเทิร์นที่ตีกรอบการทำงานของทุกคนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่มูลค่ากว่า 3 Trillion เหรียญสหรัฐนี้ (นั่นเท่ากับ 3 ตามด้วยเลขศูนย์อีก 12 ตัว) ระบบที่ทั้งสร้างผลประโยชน์ให้แบรนด์ต่างๆ แต่ขณะเดียวกันก็ส่งผลเสียตามมาซึ่งสร้างความเสียหายได้ไม่เบาเช่นกัน ดาบสองคมที่เรียกว่าระบบแฟชั่นนี้กำลังสร้างผลกระทบให้ใครหลายๆคน ที่ตอนนี้ต้องการก้าวออกจากกรอบแพทเทิร์นนี้ เพื่อไปแสวงหาแนวทางใหม่ของตนเองบนเส้นทางที่ทั้งเสี่ยง ทั้งเปลี่ยว แต่มีหวังมากกว่า(หรือไม่?) ใครหลายๆคนที่ว่านี้ คือผู้ที่พร้อมออกไปนำทาง นำแบรนด์ของตนออกสู่เส้นทางการทำงานที่ไม่เคยมีใครคิดจะกล้าทำมาก่อน นั่นคือระบบใหม่ที่ทุกคนเรียกกันว่า “See Now, Buy Now” (หรือ aka “Runway to Retail“, aka “Direct to Consumer” แปลเป็นภาษาบ้านๆคือ โชว์ปุ๊บ ขายปั๊บ)

See Now, Buy Now กับการเปิดยุคใหม่ของการขายสินค้าแฟชั่น เมื่อตอนนี้คนในเจเนเรชั่นนี้กำลังโลดแล่นอยู่บนเครื่องมือดิจิตัล แบรนด์ต่างๆจึงต้องปรับกลยุทธ์เพื่อเอาใจและตามให้ทันพฤติกรรมของผู้บริโภคทุกย่างก้าว เพราะลูกค้าไม่ได้ไปนั่งชมรันเวย์ที่ New York แฟชั่นวี้ค แต่นั่งอยู่บ้านหน้าแล็ปท็อปเพื่อชมตรีมออนไลน์รันเวย์ หรือเปิด Snapchat เพื่อดูว่าตอนนี้ Kendall Jenner เดินรันเวย์ให้แบรนด์นี้หรือไม่ต่างหาก ซึ่งสำหรับฤดูกาลใหม่ Fall-Winter ปี 2016(ที่แบรนด์ “ส่วนมาก” โชว์คอลเลคชั่นไปตั้งแต่กุมภา-มีนาต้นปีที่ผ่านมาแล้ว)นี้เอง “แกนนำ” เทรนด์ See Now, Buy Now พึ่งจะเดินรันเวย์และเริ่มขายสินค้าซีซั่นนี้เอง

แกนนำที่ว่าถึง นำทัพมาโดย Burberry และ Tom Ford จากทั้งฝั่ง London และฝั่ง New York ทั้งสองแบรนด์เป็นแบรนด์กลุ่มแรก ที่พูดถึงเทรนด์ See Now, Buy Now และนำมาใช้จริง กับสินค้าและการขายในซีซั่นใหม่นี้ ก่อนที่จะมีแบรนด์อื่นๆก้าวตามรอยเท้ามาในภายหลัง เช่น Tommy Hilfiger, Ralph Lauren และ Thakoon (แบรนด์จาก New York ทั้งสิ้น)


คอลเลคชั่น Fall Winter 2016 จาก Burberry ในระบบเดิม


o-lady-gaga-tom-ford-chic-facebook
Tom Ford Spring Summer 2016

  ด้าน Burberry การเตรียมตัวปรับกลยุทธ์มาใช้โมเดลการขายแบบใหม่นั้นคือการเดินคอลเลคชั่น Fall-Winter 2016 ไปก่อนแล้ว 1 คอลเลคชั่นในช่วงต้นปี ในระบบเดิม ก่อนที่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่คอลเลคชั่นในซีซั่นเดียวกัน ในระบบ See Now, Buy Now คอลเลคชั่นแรกได้โชว์และเริ่มขายหลังจากโชว์เสร็จทันที ส่วนฝั่ง Tom Ford หลังจากนำเสนอคอลเลคชั่น Spring-Summer 2016 ของเขาผ่านมิวสิควิดีโอที่ได้ Lady Gaga มาร่วมเป็นทั้งนางแบบและเจ้าของเสียงเพลงประกอบมิวสิควิดีโอ โดยไม่มีการเดินรันเวย์โชว์คอลเลคชั่นจริงๆ เรื่อยมาจน New York Fashion Week ที่พึ่งจบไปสดๆร้อนๆนี่เองที่เขาได้โชว์คอลเลคชั่น See Now, Buy Now คอลเลคชั่นแรกในซีซั่น Fall-Winter 2016 จะเห็นได้ว่าทั้งสองแบรนด์มีวิธีการปรับเปลี่ยนเข้าสู่โมเดลธุรกิจใหม่นี้ในแบบของตน แต่แน่นอนว่าเพื่อจุดประสงค์เดียวกันในการออกจากกรอบที่ถูกสร้างขึ้นโดยกลุ่มคนที่ปัจจุบันคงได้ตายจากโลกนี้ไปแล้ว

ส่วนคำถามที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ว่า See Now, Buy Now จะใช้ได้ผลจริงเหรอ? เมื่อแบรนด์กลุ่มนี้กล้าที่จะออกมาเสี่ยงด้วยการสร้างปฏิทินการทำงานของตนเอง แล้วปฏิทินของทั้งลูกค้า และปฏิทินของคนที่ทำงานในอุตสาหกรรมนี้ที่เหลือจะปรับเปลี่ยนไปอย่างไร ทั้งในด้านนิตยสาร ทั้งในด้าน PR และด้านอื่นๆ กลุ่มคนเหล่านี้จะต้องทำงานเพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองปฏิทินใหม่ของแบรนด์กลุ่มเล็กๆเหล่านี้หรือไม่? หรือแบรนด์กลุ่มนี้เองต่างหาก ที่ต้องทำงานในปฏิทินของตนเอง ไปพร้อมๆกับปฏิทินของคนที่ยังอยู่ในระบบเดิมไปด้วย?

เมื่อแบรนด์เหล่านี้เลือกที่จะโชว์หลังจากแบรนด์อื่นถึง 6 เดือน ทำไมลูกค้าที่เห็นสินค้าของแบรนด์อื่นมาแล้ว จะต้องรอชมสินค้า(ที่อาจจะคล้ายกัน)ของแบรนด์เหล่านี้เพื่อซื้อหลังจากโชว์เสร็จทันทีให้หลังถึง 6 เดือน เป็นอีกหนึ่งคำถามที่ผุดขึ้นมาในหัว หากไม่ใช่ลูกค้าที่ใจรักและซื่อตรงกับแบรนด์กลุ่มนี้มาก่อนแล้ว แน่นอนว่าข้อเสียข้อนี้ย่อมส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อยอดขายได้ แม้หนึ่งในเหตุผลที่กระตุ้นให้แบรนด์เหล่านี้สร้างโมเดล See Now, Buy Now เพื่อไม่ให้เสียลูกค้าให้กับแบรนด์ Mass Market อย่าง Zara หรือ H&M ที่รอก้อปปี้สินค้าออกขายแย่งลูกค้าก่อน แต่เสียลูกค้าให้แบรนด์ในระดับเดียวกันไปก่อนอยู่ดี? นอกจากนั้น การตัดสินใจซื้อของราคาหลักหมื่นไปจนถึงหลักแสนคือการลงทุนที่ลูกค้าสามารถคิดตัดสินใจในช่วงเวลา 6 เดือนก่อนการขายจริงได้ว่าจะจับจ่ายใช้เงินอย่างไร เมื่อระบบ See Now, Buy Now ถูกนำมาใช้ นั่นทำให้ลูกค้ามีเวลาตัดสินใจน้อยลง ลูกค้าที่มีฐานะปานกลาง กำลังซื้อไม่มากพอ นี่อาจเป็นการตัดกำลังซื้อของกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้หรือไม่?

คอลเลคชั่น See Now, Buy Now ซีซั่น Fall Winter 2016 จาก Burberry

สำหรับ Burberry ซีซั่นนี้ Christopher Bailey ผู้ซึ่งตอนนี้ก้าวขึ้นมาเป็น CEO ของแบรนด์ ได้รับแรงบันดาลใจจากนิยายโดย Virginia Woolf ชื่อ Orlando เรื่องราวของชายผู้เปลี่ยนเพศเป็นหญิงและใช้ชีวิตอย่างยาวนานผ่านศตวรรษต่างๆ ซึ่งเสื้อผ้าในคอลเลคชั่นนี้สามารถสะท้อนแก่นสารของนิยายเล่มนี้ออกมาได้เป็นอย่างดี ผ่านเสื้อผ้าที่กำลังเป็นกระแสกับเทรนด์ Gender Fluid และดึงเอาอัตลักษณ์และโครงชุดจากยุคต่างๆตั้งแต่ยุควิคตอเรียน จนถึงยุค Jazz Age 1920’s มาสร้างใหม่ให้ดูโรแมนติค ร่วมสมัยและน่าสวมใส่ พร้อมมีกลิ่นอายของแบรนด์ที่มีประวัติยาวนานอยู่คู่เกาะอังกฤษมากว่า 160 ปี

คอลเลคชั่น See Now, Buy Now ซีซั่น Fall Winter 2016 จาก Tom Ford


ด้าน Tom Ford ได้ดึงกลิ่นอาย Retro จากยุค 70s และความ Classic มาผสมผสานกับซิกเนเจอร์ประจำแบรนด์จนออกมาเป็นคอลเลคชั่นสำหรับสุภาพสตรีที่มากไปด้วยสเน่ห์ของความ Sophisticated นำมาโดย ไอเท็มอย่างกระโปรงทรงดินสอ และรองเท้าบู๊ทหนังทรงสูง อีกทั้งแมททีเรียลเอกลักษณ์ของแบรนด์อย่าง ลายพิมพ์หนังเสือ กำมะหยี่ เลื่อมซึ่งถูกเลือกมาใช้ในอีกหลายๆไอเทมในคอลเลคชั่น และสำหรับสุภาพบุรุษที่ทั้งเท่ห์ เนี้ยบ แต่มีความสนุกสนานในการแต่งกาย นำมาโดยเสื้อสูทลายพิมพ์สีสันดึงดูดสายตา และเสื้อคอเต่าเรียบหรูในสีต่างๆ


แน่นอนว่าท่ามกล่างเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน แต่ละแบรนด์ แต่ละห้องเสื้อย่อมทำทุกอย่างเพื่อความอยู่รอดของตน See Now, Buy Now อาจเป็นหนึ่งในวิธีที่ได้ผลสำหรับบางแบรนด์ ซึ่งผลนี้เองยังไม่สามารถมองเห็นได้ในตอนนี้ เพราะยุคใหม่ของการขายสินค้าแฟชั่นพึ่งเริ่มขึ้นเท่านั้น หลังจากนี้คือการสังเกตการณ์ดูว่า โมเดลนอกกรอบนี้จะนำกำไรหรือสร้างความเสียหายมาให้แบรนด์กลุ่มนี้ แบรนด์ในกรอบแบรนด์ไหนจะก้าวออกตามมาอีก หรือแบรนด์ที่ออกจากกรอบมาแล้วจะกลับตัวกลับใจกลับไปอยู่ในระบบเดิมอีก?

for Birls Magazine @ http://www.birlsmag.com